Page 26 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 26
14
2.2.1 การสร้างปทัสถานทางกฎหมายของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนโดยกติการะหว่างประเทศ
หลังจากที่สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติได้รับรองปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแล้ว
สหประชาชาติได้ขอให้คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (Commission on Human Rights)
ให้ความส าคัญในการผลักดันเพื่อยกร่างสนธิสัญญาสิทธิมนุษยชนที่มีผลผูกพันทางกฎหมาย รวมทั้งขยายความ
และพัฒนารายละเอียดของเนื้อหาในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนที่รับรองเป็นหลักการกว้างๆ ดังได้
กล่าวข้างต้นแล้วว่าความตึงเครียดในช่วงการจัดท าปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนเนื่องจากความแตกต่าง
ทางอุดมการณ์ทางการเมือง น ามาสู่การเข้าใจเรื่องสิทธิมนุษยชนที่แตกต่างกัน ข้อโต้แย้งส าคัญในขณะนั้นคือ
ธรรมชาติของสิทธิทั้งสองกลุ่มมีความแตกต่างกัน โดยเฉพาะวิธีการปฏิบัติตาม (The mean of
implementation) ขณะที่สิทธิทางพลเมืองและสิทธิทางการเมืองสามารถให้การประกันสิทธิได้ในทันที แต่
สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมต้องใช้เงินและทรัพยากรอื่นๆ จึงจะสามารถปฏิบัติให้สิทธิเป็นจริง
ขึ้นมาได้ และต้องด าเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไปไม่ใช่ในทันทีทันใด แม้ที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่ง
สหประชาชาติ (The General Assembly) จะพยายามยืนกรานการไม่แบ่งแยกสิทธิมนุษยชน แต่ก็ไม่ประสบ
ความส าเร็จ ที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ.1952 (พ.ศ. 2495) ได้มีมติให้ร่าง
กฎหมายโดยแบ่งแยกสิทธิออกเป็นสองส่วน ซึ่งในเวลาต่อมาได้กลายเป็นกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิ
พลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights: ICCPR) และ
กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (International Covenant on
22
Economic, Social and Cultural Rights: ICESCR)
2.2.2 พันธะหน้าที่ของรัฐในด้านสิทธิมนุษยชน
กฎหมายระหว่างประเทศก่อพันธะหน้าที่ต่อรัฐ ประเด็นที่ควรจะต้องพิจารณาในเบื้องต้นคือ
พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนมีอย่างไร กล่าวอีกนัยหนึ่งรัฐมีภาระหรือหน้าที่อย่างไร เพื่อการปฏิบัติให้เป็นไป
ตามพันธกรณีที่ก่อขึ้นโดยกฎหมายระหว่างประเทศ ดังนั้นในส่วนนี้ ผู้ศึกษาจะศึกษาพันธะหน้าที่ของรัฐเพื่อให้
เกิดความเข้าใจอันน าไปสู่การจัดท าตัวชี้วัด “ที่สามารถบ่งชี้” ถึงพันธะหน้าที่ด้านต่างๆ ที่ผูกพันรัฐ
กล่าวได้ว่าปัจจุบันเป็นที่ยอมรับในทางวิชาการว่า พันธกรณีระหว่างประเทศมีสามด้าน คือ
พันธกรณีในการเคารพ (obligation to respect)
พันธกรณีในการปกปูองคุ้มครอง (obligation to protect)
พันธกรณีในการท าให้บรรลุผล (obligation to fulfill)
2.2.2.1 พันธกรณีในการเคารพ
พันธกรณีในการเคารพ ถือเป็นหน้าที่เชิงลบ นั่นคือรัฐ หรือผู้มีหน้าที่ (Duty Bearer)
ต้องหลีกเลี่ยง และไม่ขัดขวางบุคคลที่เป็นผู้ทรงสิทธิ ท าให้ผู้ทรงสิทธิไม่อาจใช้สิทธิตามที่บุคคลนั้นมี
22
ศรีรักษ์ ผลิพัฒน์ “สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม” ใน สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
เอกสารการสอนชุดวิชากฎหมายสิทธิมนุษยชน” พิมพ์ครั้งที่ 3 (นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช),
หน้า 312-313