Page 20 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 20
8
เนื่องจากส านักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (ส านักงาน กสม.) มีโครงการพัฒนาตัวชี้วัด
ตามสนธิสัญญาสิทธิมนุษยชนเฉพาะเรื่องที่ประเทศไทยเป็นภาคีอีกเจ็ดฉบับ (และพิธีสารเลือกรับ
ของอนุสัญญา) ซึ่งตัวชี้วัดตามสนธิสัญญาเหล่านั้นจะเกี่ยวข้องโดยตรงกับข้อมูลที่ชี้ถึงเฉพาะตัว
บุคคล (disaggregate data) เช่น เพศ เชื้อชาติ ภาษา ความเป็นเด็ก (อายุ) ความพิการ สถานะทาง
เศรษฐกิจ (รายได้) ดังนั้นในการก าหนดเกณฑ์ชี้วัดตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ใน
โครงการนี้ จึงไม่เน้นเรื่องข้อมูลที่เป็น disaggregate data อย่างไรก็ตาม อาจมีเกณฑ์ตัวชี้วัดบาง
ตัวที่ยังจ าเป็นต้องมีอยู่
1.4 นิยามศัพท์
ตามความมุ่งหมายของโครงการนี้ค าว่า “ตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้น” หมายถึงตัวชี้วัดการด าเนินงาน
ของรัฐบาลเพื่อให้บรรลุถึงการปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศในด้านสิทธิมนุษยชนด้านต่างๆ อันเป็น
มาตรฐานขั้นต่ าระหว่างประเทศตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
1.5 วิธีการศึกษา
การศึกษาโครงการนี้ใช้วิธีการศึกษาโดยศึกษาจากเอกสารประกอบกับการจัดประชุมสัมมนาเชิง
ปฏิบัติการเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากกลุ่มเปูาหมายที่เกี่ยวข้อง (Focus Groups) รวมถึงการสัมภาษณ์เชิงลึก
(In-depth Interview) บุคคลที่เกี่ยวข้อง และการรับฟังความเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) ด้านการ
จัดท าตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน
การศึกษาเอกสารจะศึกษาจากตราสารระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับ
การพัฒนาตัวชี้วัด โดยเฉพาะเอกสารที่จัดท าโดยส านักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ
คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ และคณะกรรมการประจ าสนธิสัญญาระหว่างประเทศ
รวมทั้งรายงานการปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเสนอต่อองค์การ
ระหว่างประเทศ ตลอดจนกฎหมาย นโยบาย และการปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย
นอกจากนั้นเพื่อเป็นแนวทางในการปรับใช้ตัวชี้วัดให้มีลักษณะเป็นเครื่องมือที่ใช้ระดับประเทศ ใน
การศึกษาเพื่อพัฒนาชุดตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนครั้งนี้ คณะผู้ศึกษาจะใช้
การจัดท าชุดตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนของสหราชอาณาจักร สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ และสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ มา
ศึกษาเปรียบเทียบประกอบในการจัดท า
การประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการจะเป็นการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องกับตัวชี้วัด เช่น ผู้ที่จะใช้
ตัวชี้วัด ผู้ที่เป็นเจ้าของข้อมูล และผู้ที่ท าหน้าที่ประเมิน ตรวจสอบการละเมิด ทั้งภาครัฐและภาคประชาสังคม
ตลอดจนนักวิชาการด้านสถิติและด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อน าความคิดเห็นจากการประชุมมาเป็นแนวทางในการ
ก าหนดวิธีการจัดท า และใช้ประโยชน์ในการพัฒนาและก าหนดตัวชี้วัด