Page 28 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 28
16
ในแง่สิทธิทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (ESCR rights) การที่รัฐมีนโยบายให้
การศึกษาแบบให้เปล่าแก่เด็กทุกคน หรือการจัดโครงการให้ทุนยืมเรียนในระดับอุดมศึกษาถือว่าเป็น
25
ภาระหน้าที่ในการท าให้บรรลุถึงสิทธิในการศึกษา
ในการพัฒนาตัวชี้วัดด้านสิทธิมนุษยชนเพื่อประเมินการปฏิบัติตามพันธกรณีของรัฐ จึง
ต้องออกแบบ หรือก าหนดให้ตัวชี้วัดสะท้อน หรือบ่งชี้ถึงพันธะหน้าที่หลักทั้งสามด้านนี้
2.3 ความหมายของตัวชี้วัดในการติดตามตรวจสอบการด าเนินการด้านสิทธิมนุษยชน
ในส่วนนี้จะศึกษาความหมายของตัวชี้วัด (Indicators) การเชื่อมโยงความส าคัญของตัวชี้วัดต่อการ
สอดส่องการปฏิบัติตามพันธะหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนและชี้ให้เห็นว่าการมีตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน
(Human rights indicators) ที่เหมาะสม จะช่วยให้ กสม. สามารถสอดส่องการด าเนินงานของหน่วยงาน
ต่างๆ ให้สอดคล้องกับพันธะหน้าที่และแผนพัฒนาสิทธิมนุษยชนแห่งชาติและยังช่วยให้รัฐบาลได้มีเครื่องมือใน
การจัดท ารายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนต่อคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
ในบทนี้แบ่งการศึกษาเป็นสามหัวข้อดังนี้
2.3.1 ความหมายของตัวชี้วัด
ค าว่า ตัวชี้วัด มาจากค าว่า Indicators ซึ่งมีการถอดค าเป็นภาษาไทยไว้หลายความหมาย
เช่น ดัชนี ตัวบ่งชี้ ตัวชี้น า
ตามความหมายในพจนานุกรม Oxford Advanced Learner’s Dictionary ได้ให้
ความหมายไว้ว่า “เครื่องหมายที่แสดงให้รู้ว่าสิ่งหนึ่งก าลังมีการเปลี่ยนแปลง หรือสถานการณ์หนึ่งก าลังมีการ
เปลี่ยนแปลงอย่างไร (a sign that shows you what something is like or how a situation is
26
changing)”
Johnstone กล่าวว่าตัวชี้วัดสามารถใช้เป็นตัวประเมินสถานการณ์หรือเครื่องมืออย่างหนึ่งที่
สามารถบอกสถานการณ์ที่เป็นอยู่ หรือที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงเวลาที่เราศึกษา เพื่อให้ทราบว่าสถานการณ์นั้นๆ
อยู่ในระดับใด มีภาวะความเป็นอยู่อย่างไร โดยจะเป็นการประมาณสถานการณ์ในเชิงปริมาณ และก าหนดเป็น
ค่าสถิติ ในลักษณะที่มีความใกล้เคียงกับความเป็นจริงของสถานการณ์นั้นๆ ทั้งนี้ สถานการณ์ที่ได้ประมาณใน
27
เชิงปริมาณและก าหนดเป็นค่าทางสถิติตัวนี้สามารถเปลี่ยนแปลงไปตามช่วงเวลาของสถานการณ์นั้นๆ ได้
ส่วน Victor Jupp กล่าวสรุปไว้สั้นๆว่า หมายถึง “สิ่งที่สามารถวัดได้ในเชิงปริมาณที่น ามา
แทนที่ หรือใช้แทนสิ่งที่สามารถอ่านเป็นค่าที่วัดได้น้อยกว่า (A measurable quantity which ‘stands in’
or substitutes, in some sense, for something less readily measurable.)” โดยเขายกตัวอย่างให้
เห็นว่า การที่เราบอกว่า “อากาศร้อนมาก” เราอาจไม่สามารถบอกได้ว่า “มาก” แค่ไหน ขึ้นอยู่กับความเข้าใจ
25
เรื่องเดียวกัน หน้า 89
26
Oxford Advanced Learner’s Dictionary, (Oxford: Oxford University Press, 2010).
27 James N Johnstone, Indicators of education systems. (London: UNESCO, 1981) pp. 10-12.