Page 19 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 19

7


                       อนึ่ง โครงการ “การจัดท าตัวชี้วัดการด าเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิ
               มนุษยชน” นี้เป็นโครงการแรกในการพัฒนาตัวชี้วัดด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อประเมินและติดตามการด าเนินงาน

               ด้านสิทธิมนุษยชนของรัฐบาล โดยคณะกรรมการฯ ยังมีโครงการจะจัดท าตัวชี้วัดตามสนธิสัญญาสิทธิมนุษยชน
               ทุกฉบับที่ประเทศไทยเป็นภาคี

               1.2 วัตถุประสงค์ของโครงการ


                     โครงการนี้มีวัตถุประสงค์หลัก คือ การจัดท าชุดตัวชี้วัดการด าเนินการด้านสิทธิมนุษยชนตามปฏิญญา
               สากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน อย่างไรก็ตาม เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว กสม. ได้ก าหนดเงื่อนไขข้อสัญญา
               ซึ่งถือว่าเป็นกรอบการด าเนินการพัฒนาตัวชี้วัดของคณะผู้ศึกษา คือ

                       ชุดตัวชี้วัดที่พัฒนาขึ้นเกิดจากการก าหนดมิติด้านสิทธิมนุษยชนที่เหมาะสมในการจัดท าตัวชี้วัด

                        ส าหรับสังคมไทย
                       ชุดตัวชี้วัดที่พัฒนาขึ้นจะช่วยสร้างมาตรฐานเบื้องต้นในการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชน
                        ตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และ

                       ชุดตัวชี้วัดที่พัฒนาขึ้นจะเป็นเครื่องมือในการตรวจสอบ ประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนตาม
                        ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย

               1.3 ขอบเขตการศึกษา

                     การพัฒนาชุดตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ตามโครงการนี้มี
               ขอบเขตการศึกษาดังนี้

                       โครงการนี้มุ่งจะจัดท า “ชุดตัวชี้วัดเบื้องต้น” ตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน เท่านั้น ไม่ได้
                        เป็นการจัดท าเกณฑ์ “เป้าหมายเพื่อพัฒนาหรือยกระดับเกณฑ์คุณค่าสิทธิมนุษยชนให้สูงขึ้น”

                        อย่างไรก็ตามคณะผู้ศึกษาตระหนักดีว่าสิทธิมนุษยชนเป็นปทัสถานที่มีพลวัตรสูงและการท าให้บรรลุ
                        ถึงสิทธิสามารถปรับเปลี่ยนไปตามสภาพสังคม ระดับการพัฒนาทางการเมืองและเศรษฐกิจของ
                        แต่ละประเทศ นอกจากนั้นยังขึ้นอยู่กับการอธิบายความปทัสถานแห่งสิทธิของแต่ละคน
                       การศึกษาจ ากัดอยู่เพียงสิทธิมนุษยชนที่รับรองโดย “ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน” ซึ่งเป็นที่

                        ยอมรับในทางวิชาการว่าเกณฑ์ปทัสถานตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนนี้ได้ท าให้ชัดเจนขึ้น
                        โดยสนธิสัญญาสองฉบับคือ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
                        (ICCPR) และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (ICESCR) ซึ่งถือ
                                                                                  14
                        ว่าเป็น “ตราสารสิทธิระหว่างประเทศ (International Bill of Rights) ” ดังนั้นชุดตัวชี้วัดจึงตั้งอยู่
                        บนพื้นฐานของ “ตราสารสิทธิระหว่างประเทศ”


               14   ค าว่า ตราสารสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ หรือ “International Bill of Rights” ประกอบด้วย ตราสารสิทธิมนุษยชน
                  หลัก สามฉบับ คือ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
                  และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (อย่างไรก็ตาม นักวิชาการบางคนถือว่า พิธีสาร
                  เลือกรับของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ฉบับที่หนึ่ง) หรือ First  Optional
                  Protocol to the ICCPR เข้าเป็น “Bill of Rights” ด้วย
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24