Page 18 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 18

6


                              นับตั้งแต่ใน ค.ศ. 1993  (พ.ศ. 2536)  ศูนย์สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ได้จัดประชุม
               กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการใช้ข้อมูลทางเศรษฐกิจและสังคมในงานด้านสิทธิมนุษยชนและกรรมการประจ า
                                    12
               สนธิสัญญาขึ้นเป็นระยะๆ   โดยได้มีการพัฒนาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเพื่อการประเมินการปฏิบัติตามพันธกรณี
               ภายใต้ตราสารระหว่างประเทศขึ้น แม้ว่าโครงการดังกล่าวยังไม่เสร็จสิ้นสมบูรณ์แต่มีความก้าวหน้าเป็นระยะ
               ท าให้แนวคิด วิธีการ กระบวนการจัดท า และตัวแบบตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนมีความชัดเจนขึ้น โครงการดังกล่าว
               สามารถใช้เป็นแนวทางในการจัดท าตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเพื่อติดตามตรวจสอบการปฏิบัติตามพันธกรณีด้าน

               สิทธิมนุษยชนส าหรับประเทศต่างๆ ได้

                              เป็นที่น่าสังเกตว่าองค์การระหว่างประเทศหลายองค์การได้ใช้ข้อมูลเชิงสถิติ (statistics
               data) ส าหรับการด าเนินงานด้านส่งเสริมสิทธิมนุษยชนมาเป็นเวลาหลายทศวรรษแล้ว เช่น กองทุนสงเคราะห์

               เด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ได้จัดท ารายงานสภาวะเด็กทั่วโลก (Status  of the  World’s  Children)
               เป็นประจ าทุกปี   กองทุนสหประชาชาติเพื่อการพัฒนาสตรี (UN  Development  Fund  for  Women) ได้
               จัดท ารายงานข้อมูลสถิติประจ าปีเกี่ยวกับผู้หญิงทั่วโลก  (The World’s Women) เป็นประจ าทุกปี อย่างไรก็ตาม
               รายงานเหล่านี้เป็นเพียงข้อมูลทางสถิติ ที่แสดงสถานภาพ หรือภาวการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งที่ไม่ได้ใช้เพื่อ

               ก าหนดเปูาหมาย (benchmark) ในการประเมินความส าเร็จ นอกจากนั้นข้อมูลเหล่านั้นยังไม่ได้เชื่อมโยงกับ
                      13
               “สิทธิ”  ทั้งนี้เนื่องจากวัตถุประสงค์ในการจัดท ารายงานสถานภาพสตรี แตกต่างจากการจัดท าตัวชี้วัด
               สิทธิมนุษยชน ดังนั้นวิธีการก าหนดตัวชี้วัดลักษณะนี้จึงแตกต่างจาก “ตัวชี้วัดด้านสิทธิมนุษยชน” ที่ใช้ประเมิน

               การปฏิบัติตามพันธะหน้าที่ด้านสิทธิมนุษยชน

                              ดังกล่าวข้างต้นแล้วว่ากสม.มีภาระหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญต้องเสนอรายงานการประเมิน
               สถานการณ์สิทธิมนุษยชนของประเทศไทยต่อรัฐสภาและเผยแพร่รายงานให้กับประชาชนได้รับและเสนอ
               รายงานคู่ขนานต่อองค์การสหประชาชาติ ในขณะที่รัฐบาลมีพันธกรณีในการเสนอรายงานการปฏิบัติตามสิทธิ

               มนุษยชนต่อสหประชาชาติ ในการจัดท ารายงานดังกล่าวจ าเป็นต้องใช้ข้อมูลที่สามารถแสดงหรือชี้ได้ว่ารัฐบาล
               ได้ปฏิบัติภาระหน้าที่คุ้มครองสิทธิมนุษยชนได้อย่างเต็มความสามารถหรือไม่ ดังนั้น จึงมีความจ าเป็นที่จะต้อง
               พัฒนาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนขึ้นเพื่อใช้ในการประเมินการปฏิบัติตามพันธะหน้าที่ด้านสิทธิมนุษยชนของรัฐ


                              ด้วยเหตุนี้ ใน พ.ศ. 2554  กสม.จึงได้มีโครงการจัดท าตัวชี้วัดด้านสิทธิมนุษยชนขึ้นมา
               เพื่อที่จะให้เป็นเครื่องมือในการประเมินและติดตามการปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิ
               มนุษยชน ทั้งยังเป็นพื้นฐานทางกฎหมายที่ กสม.จะได้มีค าแนะน าอันเป็นประโยชน์ต่อรัฐบาลในการด าเนินงาน

               ด้านสิทธิมนุษยชน นอกจากนั้นตัวชี้วัดฯ ยังใช้เป็นแนวทางของหน่วยงานที่เป็นผู้ปฏิบัติ ได้ใช้เป็นกรอบส าหรับ
               การด าเนินการเพื่อให้มีพัฒนาการในการด าเนินการด้านสิทธิมนุษยชนทั้งในการเคารพ ปกปูองคุ้มครอง และ
               การท าให้สิทธินั้นเป็นจริงขึ้นมา




               12   Office of the High Commissioner for Human Rights, “Report on indicators for monitoring compliance
                  with international human rights instruments”, (UN Doc. HRI/MC/2008/3, 6 June 2008).
               13
                   Rajeev Malhotra and Nicolas Fasel, “Quantitative Human Rights Indicators- A survey of major initiative”,
                  The Paper presented at “The Turku Expert Meeting on Human Rights Indicator”, (Turku, Finland, 10-13
                  March 2005), para. 60.
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23