Page 27 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 27

15


                                  ตัวอย่างหน้าที่ในการเคารพ ในแง่สิทธิทางด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง เช่น
               สิทธิในครอบครัว รัฐจะต้องไม่แทรกแซงการใช้ชีวิตครอบครัว เช่น การห้ามข้าราชการหญิงสมรสกับ

               ชาวต่างชาติ ในแง่สิทธิทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เช่น รัฐต้องเคารพสิทธิในสุขภาพของบุคคลใน
                                                             23
               การเลือกที่จะรับการรักษา หรือดูแลสุขภาพของตัวเอง     หรือเคารพเสรีภาพในการเลือกท างานประกอบ
               อาชีพของบุคคล ดังนั้นการบังคับให้บุคคลท างานในโรงงานในระบอบคอมมูน ถือว่าไม่เคารพเสรีภาพในการ
               ท างานเป็นการละเมิดต่อสิทธิของบุคคล


                           2.2.2.2 พันธกรณีในการปกป้องคุ้มครอง

                                  รัฐในฐานะที่เป็นผู้มีหน้าที่ (Duty Bearer) มีภาระหน้าที่ต้องปกปูองคุ้มครงไม่ให้บุคคล

               ที่เป็นผู้ทรงสิทธิ (Right Holder) ถูกละเมิดจากบุคคลที่สาม ซึ่งอาจเป็นบุคคลธรรมดา องค์กรหรือหน่วยงาน
               ของรัฐ หรือจากนโยบายรัฐเอง ดังนั้นรัฐจึงต้องมีนโยบาย ออกกฎหมาย หรือสร้างค่านิยม หรือความรู้ความ
               เข้าใจเพื่อไม่ให้กลไกหรือบุคคลที่อยู่ภายในอ านาจรัฐละเมิดสิทธิของบุคคลอื่น


                                  หน้าที่ในการคุ้มครองในแง่ของสิทธิทางด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
               อย่างเช่น การมีกฎหมายอาญาบัญญัติให้การฆ่า หรือท าร้ายร่างกายเป็นความผิด และการมีเจ้าพนักงานต ารวจ
               บังคับใช้กฎหมาย และมีศาลรับค าฟูองในกรณีที่บุคคลถูกละเมิดสิทธิในชีวิต เพื่อการบังคับให้การคุ้มครอง

               ปกปูองบังเกิดผล

                                  ภาระหน้าที่ในการคุ้มครองในแง่ของสิทธิทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เช่น
               สิทธิในอาหาร รัฐออกกฎหมายก าหนดมาตรฐานอาหารเพื่อคุ้มครองสิทธิของบุคคลที่จะได้รับอาหารที่มี
                      24
               คุณภาพ  เป็นต้น

                           2.2.2.3 พันธกรณีในการท าให้บรรลุผล


                                  พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของรัฐภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศที่มีต่อปัจเจกชน
               หรือกลุ่มบุคคลที่เป็นผู้ทรงสิทธิ ภาระหน้าที่นี้ เป็นหน้าที่ในเชิงบวกที่ผู้มีหน้าที่ หรือรัฐเป็นผู้มีหน้าที่ (Duty
               Bearer) ที่จักต้องจัดหาหรือด าเนินการใดๆ เพื่อให้ผู้ทรงสิทธิ (Right Holder) ได้บรรลุถึงสิทธิที่เขามี


                                  ดังนั้นรัฐจึงต้องมีมาตรการต่างๆ ไม่ว่าทางด้านนโยบาย กฎหมาย หรือการปฏิบัติเพื่อให้
               บุคคลได้รับสิทธิอย่างเต็มเปี่ยม ตัวอย่างภาระหน้าที่ในการท าให้บรรลุในแง่สิทธิทางด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิ
               ทางการเมือง (ICCPR rights) เช่น การจัดหาทนายความให้กับจ าเลยในกรณีที่เขาไม่สามารถจ้างทนายความได้
               ถือได้ว่าเป็นภาระหน้าที่ในการท าให้บรรลุถึงสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรมที่รัฐได้รับรอง เป็นต้น






               23
                   วิชัย ศรีรัตน์ และคณะ, ศัพท์สิทธิมนุษยชน,พิมพ์ครั้งที่ 2 (กรุงเทพ: ส านักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ),
                  หน้า 160
               24   เรื่องเดียวกัน หน้า 153
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32