Page 70 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยสาเหตุการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
P. 70
59
เมื่อได้จัดหาทนายความแก่ผู้ต้องหาแล้ว หากในกรณีจ าเป็นเร่งด่วนพนักงานสอบสวน
อาจท าการสอบสวนผู้ต้องหาไปโดยไม่ต้องรอทนายความก็ได้ด้วยเหตุดังต่อไปนี้ (ป.วิ.อาญา มาตรา
134/1 วรรคสี่)
1.1 หากทนายความไม่อาจมาพบผู้ต้องหาได้ โดยไม่แจ้งเหตุขัดข้องให้พนักงาน
สอบสวนทราบ หรือแจ้งแต่ไม่มาพบผู้ต้องหาภายในเวลาอันสมควร
1.2 ให้พนักงานสอบสวนท าการสอบสวนผู้ต้องหาไปได้โดยไม่ต้องรอทนายความ
แต่พนักงานสอบสวนต้องบันทึกเหตุนั้นไว้ในส านวนการสอบสวนด้วย
2. การสอบสวนผู้ต้องหาที่เป็นเด็กอายุไม่เกินสิบแปดปี ให้น าบทบัญญัติใน ป.วิ.อาญา
มาตรา 133 ทวิ มาใช้บังคับโดยอนุโลม (ป.วิ.อาญา มาตรา 134/2)
3. ต้องให้โอกาสแก่ผู้ต้องหาใช้สิทธิให้ทนายความ หรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังกา ร
สอบปากค าตนได้ (ป.วิ.อาญา มาตรา 134/3)
นอกจากนี้ ผู้ต้องหายังมีสิทธิต่าง ๆ อีกดังต่อไปนี้
1. สิทธิที่จะไม่ถูกบังคับขู่เข็ญ ล่อลวงหรือให้สัญญา จูงใจ ตาม ป.วิ. อาญา มาตรา 135
2. สิทธิที่จะไม่ถูกควบคุมหรือขังโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 90
3. สิทธิได้รับการสอบสวน ด้วยความรวดเร็วต่อเนื่อง และเป็นธรรม ตาม ป.วิ.อาญา
มาตรา 134 วรรคสาม
4. สิทธิขอทราบสรุปพยานหลักฐานพร้อมความเห็นของพนักงานสอบสวนและ
พนักงานอัยการในการสั่งคดีในกรณีที่พนักงานอัยการมีค าสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องแล้ว ตาม ป .วิ.อาญา
มาตรา 146
5. สิทธิที่จะได้ประกันตัวต้องได้รับการพิจารณาอย่างรวดเร็วและจะเรียกหลักประกัน
จนเกินควรแก่กรณีมิได้ และการไม่ปล่อยชั่วคราวจะต้องแจ้งเหตุนั้นให้ผู้ต้องหาทราบด้วย ตาม
ป.วิ. อาญา มาตรา 107
6. สิทธิที่จะได้รับทราบผลการสอบสวนถึงความเป็นมาแห่งชีวิต และความประพฤติ
อันเป็นอาจิณของผู้ต้องหา ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 138
7. สิทธิในการมีความสามารถในการต่อสู้คดีได้ โดยจะต้องไม่เป็นผู้วิกลจริตและ
สามารถต่อสู้คดีได้ ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 14
8. สิทธิในการมีล่าม หรือล่ามภาษามือโดยมิชักช้า ในกรณีที่ผู้ต้องหา ไม่สามารถพูด
หรือเข้าใจภาษาไทย หรือสามารถพูดหรือเข้าใจเฉพาะภาษาไทยท้องถิ่นหรือภาษาถิ่น หรือไม่
สามารถพุดหรือได้ยินหรือสื่อความหมายได้ ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 13