Page 71 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยสาเหตุการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
P. 71
60
9. สิทธิในการขอสืบพยานก่อนฟ้องคดีต่อศาล ในกรณีที่ผู้ต้องหาเห็นว่าหากตนถูก
ฟ้องเป็นจ าเลยแล้วจะไม่สามารถน าพยานมาสืบได้ในภายหลัง และมีสิทธิที่จะซักค้านและตั้ง
ทนายความซักค้านก็ได้ ในกรณีที่พนักงานอัยการได้ร้องขอสืบพยานก่อนฟ้องคดี ตาม ป.วิ.อาญา
มาตรา 237 ทวิ
10. สิทธิที่จะไม่ถูกกระท าทรมาน ทารุณกรรม หรือถูกลงโทษด้วยวิธีการโหดร้ายหรือ
ไร้มนุษยธรรม (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 32)
11. สิทธิที่ไม่ต้องรับโทษทางอาญา เว้นแต่ได้กระท าการอันกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่
กระท านั้นบัญญัติเป็นความผิด และก าหนดโทษไว้ และโทษที่จะลงแก่บุคคลนั้นจะหนักกว่าโทษที่
ก าหนดไว้ในกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระท าความผิดมิได้(รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พ.ศ.2550 มาตรา 39)
12. สิทธิที่จะได้รับการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าไม่มีความผิดจนกว่าจะมีค าพิพากษา
อันถึงที่สุด แสดงว่าได้กระท าผิด และจะปฎิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระท าความผิดมิได้
(รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 39)
13. สิทธิในการคุ้มครองการกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความหรือภาพไม่ว่าด้วย
วิธีใดไปยังสาธารณชน อันเป็นการละเมิดหรือกระทบถึงสิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ
ชื่อเสียง หรือความเป็นอยู่ส่วนตัว จะกระท ามิได้ เว้นแต่กรณีที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ
(รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 35) ฯ
จ าเลยและสิทธิของจ าเลย
มาตรา 2 (3) จ าเลย หมายความถึงบุคคลซึ่งถูกฟ้องยังศาลแล้วโดยข้อหาว่าได้
กระท าความผิด
บุคคลซึ่งถูกฟ้องต่อศาลแล้วโดยข้อหาว่าได้กระท าความผิด นั้นจะตกเป็นจ าเลย
หรือไม่ สามารถแยกออกได้เป็น 2 กรณี
บุคคลซึ่งถูกฟ้องต่อศาลแล้วโดยข้อหาว่าได้กระท าความผิด นั้นจะตกเป็นจ าเลย
หรือไม่ สามารถแยกออกได้เป็น 2 กรณี
1. กรณีที่ราษฎรเป็นโจทก์ฟ้องเอง อาจจะยังไม่ตกเป็นจ าเลยทันที ถ้าหากเป็นกรณี
ที่ราษฎรเป็นโจทก์ฟ้องเองนั้นบุคคลนั้นไม่จ าเป็นต้องถูกสอบสวนโดย พนักงานสอบสวนมาก่อน
และก่อนที่ศาลประทับฟ้องมิให้ถือว่าผู้ถูกฟ้องมีฐานะเป็นจ าเลย ดังเช่นในคดีที่ราษฎรเป็น โจทก์
ศาลชั้นต้นท าการไต่สวนมูลฟ้องแล้วเห็นว่าค าฟ้องโจทก์เคลือบคลุม พิพากษายกฟ้อง ศาลอุทธรณ์
เห็นว่าฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุมจึงให้ยกค าพิพากษาศาลชั้นต้น ด าเนินกระบวนพิจารณาต่อไป