Page 72 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยสาเหตุการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
P. 72
61
แล้วมีค าพิพากษาหรือค าสั่งใหม่ตามรูปคดีนั้น จ าเลยจะฎีกาคัด ค้านค าพิพากษาศาลอุทธรณ์
ไม่ได้ เพราะจ าเลยยังหาใช่มีฐานะเป็นจ าเลยที่จะฎีกาคัดค้านไม่
2. กรณีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้อง แต่ถ้ากรณีพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้อง
ผู้ต้องหานั้น บุคคลที่ถูกฟ้องจะมีฐานะเป็น จ าเลยทันที เพราะพนักงานอัยการจะฟ้องคดีได้
ต่อเมื่อพนักงานสอบสวนได้ท าการสอบสวนโดยชอบมาแล้ว ซึ่งถือว่าได้ผ่านกระบวน การ
กลั่นกรองของเจ้าพนักงานมาแล้วถึง 2 ชั้น
นับแต่เวลาที่ยื่นฟ้องแล้วจ าเลยมีสิทธิดังต่อไปนี้
(1) ได้รับการพิจารณาคดีด้วยความรวดเร็ว ต่อเนื่อง และเป็นธรรม
(2) แต่งทนายแก้ต่างในชั้นไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณาในศาลชั้นต้น ตลอดจนชั้น
ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกา
(3) ปรึกษาทนายความหรือผู้ซึ่งจะเป็นทนายความเป็นการเฉพาะตัว
(4) ตรวจดูสิ่งที่ยื่นเป็นพยานหลักฐาน และคัดส าเนาหรือถ่ายรูปสิ่งนั้น ๆ (จ าเลยมี
สิทธิขอดูและขอตรวจเพื่อประโยชน์ในการประกอบการคัดค้านรวมตลอดถึงคัดส าเนาถ่ายรูปนั้นไว้
เป็นหลักฐานในการที่จะต่อสู้คดี)
(5) ตรวจดูส านวนการไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณาของศาลและคัดส าเนาหรือขอรับ
ส าเนาที่รับรองว่าถูกต้องโดยเสียค่าธรรมเนียมเว้นแต่ศาลจะมีค าสั่งให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมนั้น
(6) ตรวจหรือคัดส าเนาค าให้การของตนในชั้นสอบสวนหรือเอกสารประกอบค าให้การ
ของตนถ้าจ าเลยมีทนายความ ทนายความนั้นย่อมมีสิทธิเช่นเดียวกับจ าเลยดังกล่าวมาแล้วด้วย
เมื่อพนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลแล้วให้ผู้เสียหายมีสิทธิตามวรรคหนึ่ง (6)
เช่นเดียวกับจ าเลยด้วย
นอกจากนี้ จ าเลยยังมีสิทธิต่าง ๆ อีกดังต่อไปนี้
1. สิทธิที่จะได้ประกันตัวต้องได้รับการพิจารณาอย่างรวดเร็วและจะเรียกหลักประกัน
จนเกินควรแก่กรณีมิได้ และการไม่ปล่อยชั่วคราวจะต้องแจ้งเหตุนั้นให้จ าเลยทราบด้วย ตาม
ป.วิ.อาญา มาตรา 107
2. สิทธิในการมีความสามารถในการต่อสู้คดีได้ โดยจะต้องไม่เป็นผู้วิกลจริตและ
สามารถต่อสู้คดีได้ ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 14
3. สิทธิในการมีล่าม หรือล่ามภาษามือโดยมิชักช้า ในกรณีที่จ าเลย ไม่สามารถพูด
หรือเข้าใจภาษาไทย หรือสามารถพูดหรือเข้าใจเฉพาะภาษาไทยท้องถิ่นหรือภาษาถิ่น หรือ
ไม่สามารถพูดหรือได้ยินหรือสื่อความหมายได้ ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 13