Page 73 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยสาเหตุการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
P. 73

62


                                  4.  สิทธิที่จะไม่ถูกกระท าทรมาน ทารุณกรรม หรือถูกลงโทษด้วยวิธีการโหดร้ายหรือ

                      ไร้มนุษยธรรม (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 32)

                                  5. สิทธิที่ไม่ต้องรับโทษทางอาญา เว้นแต่ได้กระท าการอันกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่
                      กระท านั้นบัญญัติเป็นความผิด และก าหนดโทษไว้  และโทษที่จะลงแก่บุคคลนั้นจะหนักกว่าโทษที่

                      ก าหนดไว้ในกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระท าความผิดมิได้(รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

                      พ.ศ.2550 มาตรา 39)

                                  6. สิทธิที่จะได้รับการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าไม่มีความผิดจนกว่าจะมีค าพิพากษาอันถึง

                      ที่สุด แสดงว่าได้กระท าผิด และจะปฎิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระท าความผิดมิได้
                      (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 39)

                                  7. สิทธิในการคุ้มครองการกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความหรือภาพไม่ว่าด้วย

                      วิธีใดไปยังสาธารณชน อันเป็นการละเมิดหรือกระทบถึงสิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ

                      ชื่อเสียง หรือความเป็นอยู่ส่วนตัว จะกระท ามิได้ เว้นแต่กรณีที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ

                      (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 35)
                                  8. สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาพิพากษาโดยผู้พิพากษาหรือตุลาการที่นั่งพิจารณา

                      ครบองค์คณะ (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 40 (2))

                                  9. สิทธิที่จะได้รับค่าตอบแทนความเสียหายจากการด าเนินกระบวนพิจารณา

                      ผิดพลาด (พระราชบัญญัติค่าตอบแทน ผู้เสียหาย และค่าตอบแทน และค่าใช้จ่าย แก่จ าเลยในดคี
                      อาญา พ.ศ. 2544 (ในกรณีจ าเลยถูกคุมขังระหว่างพิจารณาคดี และมีค าพิพากษาอันถึงที่สุดในคดี

                      นั้นว่า ข้อเท็จจริงเป็นอันยุติว่าจ าเลยมิได้เป็นผู้กระท าความผิด หรือการกระท าของจ าเลยไม่เป็น

                      ความผิด) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550  มาตรา40(5))

                                  10. สิทธิที่จะรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่(พระราชบัญญัติการรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้น
                      พิจารณาใหม่ พ.ศ.2526)(อันเนื่องมากจากความผิดพลาดบกพร่องของพยานหลักฐาน)


                                  สรุปโครงสร้างการด าเนินคดีอาญา
                                  โครงสร้างการด าเนินคดีอาญาสามารถแบ่งได้เป็น 3 ชั้น ดังนี้

                                  1.  ชั้นสอบสวน ประกอบด้วย

                                    1) การร้องทุกข์หรือกล่าวโทษ

                                    2) การรวบรวมพยานหลักฐาน พนักงานสอบสวนต้องรวบรวมพยานหลักฐานให้
                      เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายเพื่อทราบข้อเท็จจริง หรือพิสูจน์ความผิด หรือพิสูจน์ความบริสุทธิ์และ

                      เพื่อจะเอาตัวผู้กระท าผิดมาฟ้องต่อศาลเพื่อให้ได้รับโทษตามกฎหมาย โดยให้เป็นไปตามกฎหมาย
   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78