Page 75 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยสาเหตุการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
P. 75
64
พ.ต.ต.นรินทร์ วรรณมณี, 2541 ศึกษาเรื่อง ทัศนคติข้าราชการต ารวจในอ าเภอเมือง
จังหวัดเชียงใหม่ ต่อเรื่องสิทธิมนุษยชนของผู้ต้องหาในคดีอาญาตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540
กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ข้าราชการต ารวจในอ าเภอเมือง 4 สถานี คือ สถานีต ารวจภูธรอ าเภอเมืองเชียงใหม่
สถานีต ารวจภูธรต าบลช้างเผือก สถานีต ารวจภูธรต าบลแม่ปิง และสถานีต ารวจภูธรต าบลภูพิงค์
ราชนิเวศวร์ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม จ านวน 300 ชุด พบว่าข้าราชการต ารวจมีความเข้าใจ
ในเรื่องสิทธิมนุษยชนของผู้ต้องหาในคดีอาญา ในส่วนของปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ ชั้นยศ ระดับ
การศึกษา สถาบันการศึกษาไม่มีผลต่อพฤติกรรมในการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการต ารวจต่อ
ผู้ต้องหาในคดีอาญา แต่ชั้นยศ ระดับการศึกษาและสถาบันการศึกษามีผลต่อทัศนคติของ
ข้าราชการต ารวจ
พ.ต.อ. พิสัณห์ อาวีกร วรเทพนิตินันท์ ,2542 ศึกษาสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย
ตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ : ศึกษาเฉพาะกรณีการตรวจค้น จับ และคุมขังของเจ้าหน้าที่ต ารวจ
พบว่า การให้ความคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทยตาม
รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในการตรวจค้น จับ และคุมขังของเจ้าหน้าที่ ได้แก่ การตรวจค้น มาตรา 238
และ การจับและคุมขัง มาตรา 237 ที่หลักการดังกล่าวเป็นการเปลี่ยนแปลงจากเดิมที่เจ้าพนักงาน
ฝ่ายปกครองหรือต ารวจชั้นผู้ใหญ่เป็นผู้ออกหมายจับนั้น ไปเป็นให้ศาลเป็นผู้ออกหมายจับซึ่งเป็น
ผลดีต่อความยอมรับของบุคคลที่เกี่ยวข้องเพราะมีศาล ซึ่งมีความเป็นกลางและอยู่ต่างองค์กรกับ
เจ้าพนักงานผู้จับกุมท าหน้าที่กลั่นกรองและตรวจสอบความชอบธรรมก่อน
สุธรรมา วรกานนท์, 2542 ศึกษาสิทธิของผู้ถูกกล่าวหาในคดีอาญาที่จะไม่ถูกกระท า
โดยเจ้าหน้าที่ของรัฐในกระบวนการยุติธรรมในลักษณะประจาน การศึกษาอาศัยข้อมูลจากหนังสือ
ต ารากฎหมาย ค าพิพากษาของศาล บทความ และตัวบทกฎหมาย รวมทั้งระเบียบปฏิบัติราชการ
ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเอกสารอื่น ๆ ผลของการศึกษาพบว่า กฎหมายคุ้มครองสิทธิของผู้ถูก
กล่าวหาในคดีอาญาที่จะไม่ถูกกระท าโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐในกระบวนการยุติธรรมในลักษณะ
ประจานไว้แล้ว ซึ่งในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับ พ.ศ.2540 มาตรา 33 แต่ในทางปฏิบัติ
เจ้าหน้าที่ของรัฐในกระบวนการยุติธรรมมิได้ด าเนินการตามระเบียบดังกล่าวอย่างเคร่งครัด เช่น
การปิดป้ายชื่อผู้ต้องหาในการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน หรือบางกรณีไม่มีก าหนดไว้เลย เช่น
การก าหนดให้คนฝากต้องแต่งกายแตกต่างไปจากผู้ต้องขัง ท าให้การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของ
รัฐในกระบวนการยุติธรรมมักละเมิดต่อสิทธิของผู้ถูกกล่าวหาในคดีอาญาที่จะไม่ถูกกระท าโดย
เจ้าหน้าที่ของรัฐในการะบวนการยุติธรรมในลักษณะประจาน