Page 54 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยสาเหตุการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
P. 54

43


                      ใด ๆ ก็ตามเกิดขึ้น เช่น ภาวะสงคราม เหตุชุลมุน หรือภาวะฉุกเฉินในสาธารณชน ก็ไม่ให้น ามาเป็น

                      ข้ออ้างส าหรับเพื่อให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการวิสามัญฆาตกรรมหรือการประหารชีวิตที่ไร้เหตุผล

                      และรวบรัดนั้นรอดพ้นจากการถูกฟ้องร้องด าเนินคดี...”
                                                   เป็นที่เห็นได้ชัดเจนว่า ตามมาตรฐานสากลที่องค์การสหประชาชาติ

                      ก าหนดดังกล่าว มีความมุ่งหมายเบื้องต้นให้มนุษยชาติได้อยู่ร่วมกันและแก้ปัญหาต่าง ๆ ด้วยสันติวิธี

                      โดยเฉพาะรัฐและเจ้าพนักงานจะต้องเป็นแบบอย่างของการอยู่ในกรอบอย่างเคร่งครัดที่จะไม่ใช้วิธี

                      สังหารชีวิตของประชาชนโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ว่าจะอยู่ในระหว่างเกิดเหตุจลาจลวุ่นวายใด ๆ

                      ก็ตาม การด าเนินการกับผู้ต้องสงสัยหรือผู้ที่ถูกกล่าวหาว่ากระท าผิดอาญาไม่ว่าจะเป็นความผิด
                      ร้ายแรงเพียงใดก็จะต้องด าเนินการไปตามกระบวนการยุติธรรมตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายอัน

                      เป็นครรลองของหลักนิติธรรม หากปล่อยให้เจ้าพนักงานสามารถลงมือประหารชีวิตผู้ต้องสงสัยหรือ

                      ผู้ต้องหาได้เองโดยไม่ต้องผ่านการพิจารณาตามกระบวนการยุติธรรม สังคมก็จะไม่แตกต่างอะไร

                      กับดินแดนแห่งความป่าเถื่อนและท าลายอารยธรรมของสังคมนั้นเอง

                                                2)  การตรวจสอบกรณีมีการตายซึ่งเกิดขึ้นโดยการกระท าของเจ้า
                      พนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติการตามหน้าที่นั้น มีหลักเกณฑ์ขององค์การสหประชาชาติในส่วนที่

                      เกี่ยวข้องก าหนดไว้ได้แก่

                                                   ตามหลักการขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยการป้องกันและ

                      สอบสวนอย่างมีประสิทธิภาพเกี่ยวกับการวิสามัญฆาตกรรม และการลงโทษประหารชีวิตที่ไร้เหตุผล
                      และรวบรัด (Principles on the Effective Prevention and Investigation of Extra-Legal, Arbitrary

                      and Summary Executions 1989) ข้อ 4, 8, 9, 12, 13, 14, 19 มีสาระส าคัญสรุปได้ดังนี้

                                                  “ศาลและองค์กรอื่นจะต้องเป็นหลักประกันที่มีประสิทธิภาพ

                      ในการคุ้มครองบุคคลหรือกลุ่มบุคคลตลอดจนผู้ที่ถูกคุกคามต่อชีวิตนั้นให้ปลอดภัยจากการกระท า
                      วิสามัญฆาตกรรม หรือประหารชีวิตที่ไร้เหตุผลและรวบรัดหรือการคุกคามดังกล่าว.....

                                                   รัฐบาลจะต้องใช้ความพยายามทุกวิถีทางที่จะป้องกันการ

                      วิสามัญฆาตกรรม หรือการประหารชีวิตบุคคลอื่นที่ไร้เหตุผลและรวบรัดดังกล่าว โดยมาตรการ

                      ต่าง ๆ เช่น การเข้าขัดขวางโดยสันติวิธี การพัฒนาระบบการร้องทุกข์ต่อองค์กรศาล   หรือองค์กร

                      ต่าง ๆ ของภาครัฐ และการประณามการกระท าที่มิชอบดังกล่าว โดยประกาศต่อสาธารณชน
                      นอกจากนี้องค์กรต่าง ๆ ของภาครัฐพึงเป็นกลไกในการสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระท า

                      ที่มิชอบดังกล่าว และด าเนินการต่อต้านการปฏิบัติที่มิชอบนั้น รัฐบาลของประเทศที่ถูกตั้งข้อสงสัย
   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59