Page 53 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยสาเหตุการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
P. 53
42
พึงกระท าโดยจ ากัดอย่างยิ่งโดยให้กระท าได้เฉพาะกรณีเพื่อป้องกันชีวิตของตนหรือผู้อื่น โดยอยู่
ในภาวะที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงเป็นอย่างอื่นได้แล้วเท่านั้น”
ตามหลักการขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยการป้องกันและ
สอบสวนอย่างมีประสิทธิภาพเกี่ยวกับการวิสามัญฆาตกรรม และการลงโทษประหารชีวิตที่ไร้เหตุผล
และรวบรัด (Principles on the Effective Prevention and Investigation of Extra-Legal, Arbitrary
and Summary Executions 1989) ข้อ 1, 3, 19 มีสาระส าคัญสรุปได้ดังนี้
“รัฐบาลจะต้องด าเนินการห้ามมิให้มีการวิสามัญฆาตกรรมหรือ
การลงโทษประหารชีวิตบรรดาที่กระท าโดยไร้เหตุผลอันควรและรวบรัด กับจะต้องด าเนินการให้เกิด
ความมั่นใจได้ว่าบรรดาการกระท าดังกล่าวนั้นเป็นความผิดตามกฎหมายอาญาและจะต้องได้รับโทษ
อย่างหนักโดยค านึงถึงระดับความร้ายแรงของความผิดนั้น แม้แต่กรณีที่มีพฤติการณ์พิเศษอันได้แก่
กรณีภาวะสงครามหรือเกิดภัยคุกคามจากสงคราม เหตุจลาจลทางการเมืองหรือเกิดเหตุฉุกเฉินอื่น ๆ
ในสาธารณชนก็ตามก็มิให้หยิบยกมาเป็นข้ออ้างว่ามีความชอบธรรมที่จะกระท าการดังกล่าว
นอกจากนี้การวิสามัญฆาตกรรมและประหารชีวิตบุคคลอื่นโดยที่ไร้เหตุผลและรวบรัด ดังกล่าว
จะต้องถือเป็นข้อต้องห้ามในทุกสถานการณ์ซึ่งรวมถึงการขัดแย้งกันโดยใช้อาวุธปืน การใช้ก าลัง
ที่เกินเลยหรือมิชอบด้วยกฎหมายของเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือของบุคคลอื่นที่ปฏิบัติหน้าที่อย่าง
เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือบุคคลอื่นที่ได้กระท าการดังกล่าวโดยการสนับสนุน ยินยอมหรือวางเฉยของ
เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือในกรณีกระท าต่อผู้ที่อยู่ในระหว่างถูกคุมขังหรือจ าคุก ข้อห้ามดังกล่าวข้างต้น
นี้ถือว่ามีความส าคัญเหนือกว่าค าสั่งของรัฐบาลด้วย............
รัฐบาลจะต้องห้ามไม่ให้บรรดาเจ้าหน้าที่ระดับผู้บังคับบัญชาหรือ
องค์กรของรัฐออกค าสั่งหรือยุยงส่งเสริมให้บุคคลใดไปกระท าวิสามัญฆาตกรรม หรือประหารชีวิต
บุคคลอื่นโดยไร้เหตุผลและรวบรัดดังกล่าว ผู้ที่ได้รับค าสั่งหรือถูกยุยงส่งเสริมเช่นนั้นมีสิทธิและหน้าที่
ที่จะต้องปฏิเสธหรือต่อต้านค าสั่งนั้น การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ที่มีอ านาจหน้าที่บังคับใช้กฎหมายนั้น
จะต้องเน้นหลักการในข้อนี้ด้วย
สืบเนื่องจากหลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น การรับค าสั่งของ
ผู้บังคับบัญชาหรือองค์กรของรัฐนั้น ไม่ให้หยิบยกมาเป็นข้ออ้างที่จะท าให้การวิสามัญฆาตกรรม
หรือการประหารชีวิตที่ได้เหตุผลและรวบรัดนั้นกลายเป็นการกระท าโดยชอบไปได้ นอกจากนี้
บรรดาผู้บังคับบัญชาและเจ้าหน้าที่ของรัฐยังจะต้องรับผิดต่อการกระท าของผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา
ส าหรับการกระท าดังกล่าวหากว่าผู้บังคับบัญชาหรือเจ้าหน้าที่เหล่านั้นมีโอกาสตามสมควรที่จะ
ป้องกันการกระท าดังกล่าวได้แต่มิได้กระท าการป้องกันการกระท าดังกล่าว และแม้แต่มีสถานการณ์