Page 51 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยสาเหตุการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
P. 51

40


                      อาจเรียกได้ว่าเป็นการกดขี่ข่มเหงหรือขัดต่อศีลธรรม และเป็นการกระท าอันเลวร้ายโดยชัดแจ้ง

                      ซึ่งไม่ว่าประเทศที่ใช้ระบบกระบวนการยุติธรรมแบบใด ในปัจจุบันก็ไม่ควรยอมรับให้เกิดการกระท า

                      ในลักษณะดังกล่าว เพราะเป็นการขัดแย้งต่อความเป็นสังคมประชาธิปไตยในโลกปัจจุบันแล้ว
                      ยังเป็นที่รังเกียจของประชาคมโลกด้วย


                                      2.3.3.5  มาตรการการคุ้มครองสิทธิที่จะไม่ถูกวิสามัญฆาตกรรม
                                                การใช้ความรุนแรง หรืออาจถึงขั้นใช้วิธีการที่ผิดกฎหมายเข้าจัดการ

                      กับผู้ที่เจ้าหน้าที่ของรัฐเชื่อหรืออ้างว่าเป็นผู้กระท าความผิด รวมถึงกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐลงมือ

                      สังหารผู้ต้องสงสัยหรือผู้ต้องหาในคดีอาญาโดยอ้างว่าเป็นการกระท าวิสามัญฆาตกรรม แม้ในบาง

                      กรณีคนในสังคมส่วนหนึ่งอาจถูกกระแสชักจูงให้เห็นคล้อยด้วยความสะใจ แต่การปล่อยให้
                      เจ้าหน้าที่ของรัฐใช้ความรุนแรง หรือวิธีการที่ผิดกฎหมายโดยอ้างเอาการรักษากฎหมายนั้น

                      ย่อมเป็นการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นผู้กระท าผิดต่อกฎหมายเสียเอง จนอาจกลายแบบอย่างของการ

                      รักษากฎหมายของเจ้าหน้าที่ โดยชอบด้วยกฎหมายนั้น อีกทั้งพฤติการณ์ดังกล่าวยังอาจลุกลาม

                      ไปเกิดเหตุและเป็นผลร้ายแก่สุจริตชนด้วย เพราะหากการกระท าดังกล่าวนั้น ไม่ได้ผ่านกระบวนการ
                      ตรวจสอบความถูกต้องชอบธรรมในการกระท านั้น และเมื่อเกิดพฤติการณ์นั้น ๆ ซ้ า ๆ เข้า

                      จนสาธารณชนอาจเห็นเป็นเรื่องปกติ ก็จะยิ่งท าให้เจ้าหน้าที่ของรัฐที่เคยชินกับวิธีการดังกล่าวย่าม

                      ใจในการใช้ความรุนแรงหรือใช้วิธีการที่ผิดกฎหมายในการปฏิบัติการ เพราะมีความสะดวกมากกว่า

                      และอาจกลายเป็นช่องทางแสวงหาประโยชน์โดยฉ้อฉลจากการใช้อ านาจรัฐนั้นมากขึ้น อันจะส่ง
                      ผลร้ายยิ่งกว่าอาชญากรรมทั่ว ๆ ไปเสียอีก และในบางกรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ร่วมมือกับผู้กระท า

                      ผิดก็อาจอาศัยการวิสามัญฆาตกรรม ฆ่าปิดปากผู้ต้องหาเสียเองเพื่อไม่ให้สาวไปถึงต้นตอของการ

                      กระท าผิดได้ นอกจากนี้ผลของการใช้ความรุนแรงยังอาจสะท้อนกลับคืนมายังเจ้าหน้าที่ของรัฐราย

                      อื่น ๆ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายนั้นด้วยเพราะผู้ก่ออาชญากรรมก็อาจใช้ความรุนแรงตอบโต้

                      เพื่อเอาตัวรอดเช่นกัน ผลสุดท้ายก็จะส่งผลสะเทือนทั้งต่อสิทธิมนุษยชนและหลักนิติธรรมของสังคม

                                                มาตรการและหลักเกณฑ์ในต่างประเทศในการคุ้มครองสิทธิ
                      การไม่ถูกวิสามัญฆาตกรรม

                                                จากการศึกษาของชาติ ชัยเดชสุริยะ  (2549) พิจารณาจ าแนกได้เป็น

                      2 ประเด็นหลักเกี่ยวกับเรื่องนี้ กล่าวคือ มาตรฐานของการใช้ก าลังและอาวุธปืนของเจ้าพนักงาน
                      ประเด็นหนึ่ง กับระบบการตรวจสอบกรณีมีการตายซึ่งเกิดขึ้นโดยการกระท าของเจ้าพนักงาน

                      ซึ่งอ้างว่าปฏิบัติการตามหน้าที่นั้น อีกประเด็นหนึ่ง พบว่า
   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56