Page 50 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยสาเหตุการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
P. 50

39


                                                ในต่างประเทศจึงมีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีอ านาจหน้าที่

                      บังคับใช้กฎหมายตลอดจนเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ของรัฐที่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับบุคคลที่ถูกจ ากัด

                      อิสรภาพนั้น อย่างจริงจังให้ตระหนักถึงข้อห้ามว่าด้วยการกระท าทรมาน หรือการปฏิบัติหรือการ
                      ลงโทษอื่นที่เป็นการทารุณโหดร้าย ไร้มนุษยธรรมหรือลดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ข้อห้ามดังกล่าว

                      หากเป็นไปได้ถึงก าหนดไว้ในหลักเกณฑ์หรือค าแนะน าทั่วไปเกี่ยวด้วยหน้าที่และภารกิจของ

                      เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการคุมขังหรือจ าคุกหรือการปฏิบัติต่อบุคคลที่ถูกคุมขัง หรือจ าคุกนั้นด้วย

                      แต่ละประเทศ ภายในขอบอ านาจของประเทศนั้นพึงวางระบบเกี่ยวกับวิธีการและทางปฏิบัติในการ

                      สอบปากค าบุคคลตลอดจนการจัดการในสถานที่คุมขัง หรือจ าคุกและการปฏิบัติต่อบุคคลที่ถูกจ ากัด
                      อิสรภาพนั้นไปในทางที่จะต้องป้องกันมิให้เกิดกรณีการกระท าทรมานหรือการปฏิบัติหรือการลงโทษอื่น

                      ที่เป็นการทารุณโหดร้าย ไร้มนุษยธรรมหรือลดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์....”


                                                มาตรการการคุ้มครองสิทธิที่จะไม่ถูกท าร้ายร่างกาย ในประเทศไทย

                                                ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาญาจักรไทย พ.ศ. 25 50 มาตรา 32 วรรค
                      สอง บัญญัติว่า  “การทรมานทารุณกรรม หรือการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรม

                      จะกระท ามิได้ แต่การลงโทษประหารชีวิตตามที่กฎหมายบัญญัติ ไม่ถือว่าเป็นการลงโทษด้วย

                      วิธีการโหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรมตามความในวรรคนี้”

                                                โดยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 135 ปัจจุบัน

                      ได้บัญญัติว่า “ในการถามค าให้การผู้ต้องหา ห้ามมิให้พนักงานสอบสวนท าหรือจัดให้ท าการใด ๆ
                      ซึ่งเป็นการให้ค ามั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวง ทรมาน ใช้ก าลังบังคับ หรือกระท าโดยมิชอบประการ

                      ใดๆ เพื่อจูงให้เขาให้การอย่างใด ๆ ในเรื่องที่ต้องหานั้น ”  การที่เจ้าพนักงานท าร้ายหรือยินยอมให้

                      ผู้ใดท าร้ายผู้สงสัยหรือผู้ต้องหาเพื่อให้รับสารภาพหรือให้การอย่างใดนั้น เป็นการกระท าผิด

                      ต่อกฎหมายอาญาด้วยและเป็นการล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง

                                                ซึ่งหลักเกณฑ์เรื่องการห้ามกระท าทรมานหรือการปฏิบัติหรือการ
                      ลงโทษอื่นที่เป็นการทารุณโหดร้าย ไร้มนุษยธรรมหรือลดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ตามปฏิญญาของ

                      องค์การสหประชาชาติดังกล่าวเป็นมาตรการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา

                      ทั้งในชั้นสอบสวน ชั้นพิจารณาพิพากษาและชั้นบังคับโทษ เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนอีกประเด็นหนึ่ง
                      ของเรื่องสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา เนื่องจากการกระท าทรมาน หรือ การปฏิบัติ

                      หรือการลงโทษอื่นที่เป็นการทารุณโหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือลดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

                      ซึ่งพฤติกรรมต้องห้ามดังกล่าวมิใช่เป็นเพียงการล่วงละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างในกรณี

                      อื่น ๆ หากแต่การกระท าอันเป็นการทารุณกรรม การท าร้ายร่างกาย และการลดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55