Page 46 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยสาเหตุการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
P. 46

35


                      ที่จะต้องแจ้งให้ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาได้ทราบถึงสิทธินี้ก็ตาม ก็เป็นเรื่องที่ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหา

                      ต้องแจ้งความประสงค์ต่อเจ้าพนักงานด้วยว่าต้องการจะให้ทนายความหรือผู้ที่ตนไว้วางใจเข้าฟัง

                      การสอบปากค าของตนนั้นด้วย (หลังจากได้รับแจ้งสิทธิเช่นนั้นแล้ว) อย่างไรก็ตามกฎหมายไทย
                      ระบุให้สิทธิแก่ผู้ต้องหาเพียงแค่ให้ทนายความหรือผู้ที่ผู้ต้องหาไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากค า

                      ของผู้ต้องหานั้นเท่านั้น  ไม่ได้ให้สิทธิแก่ผู้ต้องหาเลยไปถึงว่าจะปรึกษาหารือกับทนายความในช่วงเวลา

                      ของการให้ปากค านั้นเหมือนอย่างตามกฎหมายต่างประเทศที่กล่าวถึง  แม้โดยสภาพอาจเป็นไปได้

                      ที่ผู้ต้องหาจะใช้โอกาสที่มีทนายความอยู่ด้วยดังกล่าวปรึกษาหารือกับทนายความในการตอบ

                      ค าถามนั้นไปด้วย  อีกทั้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 7/1 ยังบัญญัติ
                      ด้วยว่า “...ให้ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหามีสิทธิดังต่อไปนี้ด้วย (1) พบและปรึกษาผู้ซึ่งจะเป็นทนายความ

                      เป็นการเฉพาะตัว ....” แต่ก็ยังอาจนับได้ว่ามีจุดมุ่งหมายของกฎหมายที่แยกกันได้เป็นคนละส่วน

                      โดยในส่วนนี้มุ่งหมายในทางที่เป็นหลักประกันคุ้มครองผู้ต้องหาว่าจะไม่ถูกกระท าการอันมิชอบ

                      ในระหว่างการสอบปากค านั้น  ควบคู่ไปกับมาตรการคุ้มครองเจ้าพนักงานโดยอาจท าให้เชื่อถือได้

                      ว่าได้ปฏิบัติโดยชอบเพราะอย่างน้อยที่สุดก็มีบุคคลที่ย่อมจะต้องรักษาสิทธิของผู้ต้องหาอยู่แล้วนั้น
                      มายืนยันได้ว่าการปฏิบัติของเจ้าพนักงานในระหว่างการสอบปากค าผู้ต้องหานั้นไม่มีการกระท าใด

                      ที่เป็นไปในทางที่มิชอบ


                                                3) สิทธิที่จะได้รับการสอบสวนโดยรวดเร็ว ต่อเนื่องและเป็นธรรม

                                                   การสอบสวนเป็นไปโดยรวดเร็ว ต่อเนื่องและเป็นธรรมจะสามารถ
                      ให้การคุ้มครองสิทธิ และกลั่นกรองเอาบุคคลที่ไม่ได้กระท าความผิดหรือบุคคลที่ไม่สมควรจะถูก

                      ด าเนินคดีอาญานั้นออกไปจากกระบวนการตั้งแต่ต้น ซึ่งหากรอให้เนิ่นช้า บุคคลนั้นก็อาจได้รับ

                      ผลร้ายไปก่อนแล้วซึ่งจะเท่ากับว่าไม่แตกต่างอะไรกับการถูกลงโทษโดยไม่เป็นธรรมไปก่อนแล้ว

                      ซึ่งในประเด็นการคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ โดยมาตรการสอบสวนโดยรวดเร็วนั้น มาตรการต่างประเทศ

                      และกฎหมายไทยมีดังต่อไปนี้

                                                   มาตรการการสอบสวนโดยรวดเร็วและเป็นธรรมของต่างประเทศ
                                                   ในประเทศอังกฤษ ประเด็นนี้อาจไม่ชัดเจนนัก ในเบื้องต้นแล้ว

                      การด าเนินคดีอาญาในระบบ Common Law มีลักษณะของการต่อสู้คดีกันระหว่างคู่กรณีสองฝ่าย

                      เป็นหลักและเน้นการส่งเสริมให้ผู้ต้องหาได้รับความช่วยเหลือทางกฎหมายจากที่ปรึกษากฎหมาย

                      หรือทนายความที่จะเป็นฝ่ายรวบรวมพยานหลักฐานมาแก้ข้อกล่าวหา แต่อย่างไรก็ดีก็ไม่ปรากฏ
                      ข้อห้ามไม่ให้พนักงานสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานในทางที่เป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายซึ่งรวมถึงเป็นคุณ
   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51