Page 45 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยสาเหตุการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
P. 45
34
ไม่ว่าจะเป็นการส่วนตัวหรือเปิดเผยนั้นได้ด้วย ซึ่งตามสถานีต ารวจหลายแห่งในประเทศอังกฤษ
ก็มีการให้บริการโดยที่ปรึกษากฎหมายดังกล่าวโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย
(2) ประเทศสหรัฐอเมริกา หลักกฎหมายอเมริกันถือว่าสิทธิของ
ผู้ต้องหาในกรณีนี้เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานอันชอบธรรม ตามที่รัฐธรรมนูญแก้ไข้เพิ่มเติมที่ 6 ของ
สหรัฐอเมริกา (The Sixth Amendment) ก าหนดว่าผู้ถูกกล่าวหามีสิทธิได้รับความช่วยเหลือจาก
ที่ปรึกษากฎหมายในเรื่องที่ถูกกล่าวหา อันน าไปสู่การวางหลักที่สืบเนื่องกันว่าการที่ผู้ต้องหาได้ให้
การรับสารภาพไปในชั้นสอบสวนอันน าไปสู่การฟ้องคดีอาญาในคดีนั้นโดยที่ผู้ต้องหาไม่ได้รับอนุญาต
ให้มีทนายความอยู่ฟังการสอบปากค าผู้ต้องหานั้น ถือว่าเป็นกระบวนการที่มิชอบเนื่องจาก
เป็นการปฏิเสธสิทธิขั้นพื้นฐานดังกล่าวและไม่อาจรับฟังค าให้การรับสารภาพดังกล่าวได้
(3) ประเทศเยอรมัน หลักกฎหมายเยอรมันก าหนดว่าผู้ถูกกล่าวหา
มีสิทธิได้รับความช่วยเหลือจากที่ปรึกษากฎหมายในทุกขั้นตอนของการด าเนินคดีแต่จะตั้งที่ปรึกษา
ของผู้ถูกกล่าวหาคนหนึ่งเกินกว่าสามคนไม่ได้ จึงเป็นการให้สิทธิแก่ผู้ต้องหาที่จะมีที่ปรึกษากฎหมาย
อยู่ฟังการสอบปากค าตนในชั้นศาลด้วย :ซึ่งเป็นแนวคิดนี้ที่ด้รับการยอมรับจนเป็นแนวปฏิบัติของ
กลุ่มประเทศภาคพื้นยุโรป โดยมีการตีความอนุสัญญาของสภายุโรปเพื่อการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
และเสรีภาพขั้นพื้นฐาน (European Convention for the Protection of Human Rights and
Fundamental Freedoms) ข้อ 6 เรื่องสิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการด าเนินคดีว่าขยายความ
ไปถึงว่าผู้ต้องหามสิทธิได้รับความช่วยเหลือจากนักกฎหมายตั้งแต่ระยะเริ่มต้นของการสอบปากค า
ผู้ต้องหาในชั้นต ารวจนั้น
มาตรการการได้การคุ้มครองที่จะให้ทนายความหรือ ผู้ที่
ไว้ใจเข้าฟังการสอบสวน ตามหลักกฎหมายไทย
ตามหลักกฎหมายไทย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 7/1 บัญญัติว่า ”...ให้ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหามีสิทธิดังต่อไปนี้ด้วย...(2) ให้ทนายความหรือ
ผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากค าตนได้ในชั้นสอบสวน ...ให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือต ารวจ
ซึ่งรับมอบตัวผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหามีหน้าที่แจ้งให้ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหานั้นทราบในโอกาสแรกถึง
สิทธิตามวรรคหนึ่ง”
นอกจากนี้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 134/3 ปัจจุบัน ก็บัญญัติว่า “ผู้ต้องหามีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจฟังการ
สอบปากค าตนได้ ” อย่างไรก็ดี แม้ความในตอนท้ายของมาตรา 7/1 ก าหนดให้เป็นหน้าที่ของ
เจ้าพนักงานที่รับมอบตัวผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหา (หรือพนักงานสอบสวนกรณีตามมาตรา 134/4)