Page 8 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 8

(๓) นโยบายการส่งบุคคลออกนอกประเทศของประเทศไทยนั้นต้องสอดคล้องกับหลักการไม่ส่งผู้ลี้ภัย

               กลับไปสู่อันตราย โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องจัดท ารายงานการประเมินสถานการณ์ความปลอดภัยใน

               พื้นที่ที่ผู้ลี้ภัยหรือหนีภัยการสู้รบจะกลับไปอย่างรอบด้าน



                      (๔)  ประเทศไทยควรพัฒนาการปฏิบัติต่อผู้ลี้ภัยในค่ายผู้ลี้ภัยให้ดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องการจัด

               การศึกษา การบริการสุขภาพ ชีวิตความเป็นอยู่ และ สิทธิในการท างาน


                      (๕)  ประเทศไทยจะส่งผู้ลี้ภัยกลับประเทศต้นทางก็ต่อเมื่อ ประเทศต้นทางนั้นปลอดภัยส าหรับผู้ลี้ภัย

               อีกทั้ง ประเทศต้นทางมีความพร้อมในด้านระบบโครงสร้างพื้นฐาน การบริการด้านต่าง ๆ เช่น การศึกษา การ


               บริการสุขภาพ สวัสดิการ และมีการจัดเตรียมกลไกเพื่อการรักษาสันติภาพที่เหมาะสม


                      (๖)  รัฐบาลไทยควรเข้ามามีบทบาทในการเตรียมความพร้อมให้ผู้ลี้ภัยก่อนการเดินทางกลับ โดยจัด

               โครงการต่าง ๆ เช่น การพัฒนาศักยภาพผู้ลี้ภัย การระงับข้อพิพาทโดยสันติวิธี



                      (๗) หากผู้ลี้ภัยหรือหนีภัยการสู้รบตัดสินใจเดินทางกลับมาตุภูมิเดิมด้วยความสมัครใจ รัฐบาลไทยควร

               เชิญหน่วยงานด้านสิทธิมนุษยชนเข้าเป็นสักขีพยานในการเดินทางกลับ อีกทั้งองค์การที่เป็นสักขีพยานเหล่านั้น

               อาจพิสูจน์ความสมัครใจในการเดินทางกลับของผู้ลี้ภัยเหล่านั้น



                      (๘) ในทางกลับกันหากไม่สามารถด าเนินการส่งกลับมาตุภูมิเดิมด้วยความสมัครใจได้ รัฐบาลไทยควร

               พิจารณาให้สิทธิอาศัยอยู่ชั่วคราวอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อรอการส่งกลับซึ่งสามารถกระท าได้ภายใต้

               พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๑๗


                      (๙)  ส าหรับผู้ลี้ภัยที่เดินทางเข้ามาใหม่ควรได้รับการพิจารณาคัดกรองจาก คณะกรรมการพิจารณา


               สถานภาพผู้ลี้ภัยจากการสู้รบประจ าจังหวัด โดยมีกระบวนการที่โปร่งใส และเปิดโอกาสให้คณะกรรมการสิทธิ

               มนุษยชนแห่งชาติและภาคประชาสังคมเข้ามามีส่วนร่วม


                      (๑๐) รัฐบาลควรเพิ่มข้อพิจารณาการให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัยจากการสู้รบ จากเดิมที่รัฐจะรับให้ความ

               ช่วยเหลือเฉพาะผู้ลี้ภัยความตายที่หนีภัยจากการสู้รบที่เป็นภัยถึงแก่ชีวิตโดยตรงอันเนื่องมาจากสงคราม


               การเมืองเท่านั้น ซึ่งควรเพิ่มการพิจารณารวมไปถึงผู้ที่หนีภัยความตายในรูปแบบอื่นด้วย เช่น ภัยจากการถูก


                                                              ฉ
   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13