Page 12 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 12
๓
รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”
เลือกตั้ง และจัดตั้งรัฐบาล แต่ถูกคู่แข่งทางการเมืองฆาตกรรมพร้อมกับรัฐมนตรีอีก ๖ คน ท าให้ช่วงเวลา
นี้พม่าเกิดความแตกแยกเป็นกลุ่มต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น
ชนกลุ่มน้อยทั้งหลายในประเทศเมียนมาร์ที่มีประมาณร้อยละ ๓๒ ของประชากรประเทศ มีความ
ปรารถนาที่จะให้พม่ามีรูปแบบการปกครองแบบสหพันธรัฐ แต่ถูกปฏิเสธจากรัฐบาลทหารพม่าที่ต้องการ
๓
บริหารจัดการความหลากหลายทางเชื้อชาติ ในรูปแบบของการรวมศูนย์มากกว่าจะเป็นแบบสหพันธรัฐ
ด้วยความต้องการที่แตกต่างกันเช่นนี้ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการต่อสู้เพื่ออิสรภาพในการปกครองตนเอง
ของชนกลุ่มน้อยในประเทศเมียนมาร์ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ในด้านหนึ่งกองก าลังของชนกลุ่มน้อยก็โทษ
ว่ารัฐบาลทหารพม่าคือสาเหตุของความล้มเหลวในการพัฒนาทางการเมือง และการท าลายอัตลักษณ์
ทางชนชาติ แต่อีกด้านหนึ่งฝ่ายรัฐบาลทหารพม่าได้กล่าวโทษว่า ฝ่ายกบฏคือสาเหตุของความแตกแยก
ของประเทศ รัฐบาลทหารพม่าจึงต้องปราบปรามชนกลุ่มน้อย และท าการปกครองประเทศแบบรวมศูนย์
เพื่อความสงบของประเทศชาติ ดังนั้นเมื่อพิจารณาถึงปัจจัยต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้นจึงก่อให้เกิดปัญหา
กระทบกระทั่งจนถึงขั้นเกิดการสู้รบเป็นระยะ ๆ ตลอดเวลา ๕๐ กว่าปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน
พ.ศ. ๒๔๙๑ นายพลอูนุ ขึ้นครองอ านาจ พม่าประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ และเกิดความ
แตกแยกในสังคม จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๕๐๒ นายพลเนวิน ซึ่งเป็นผู้มีอ านาจแท้จริงในรัฐบาลท าการ
รัฐประหาร และน าประเทศเข้าสู่ ระบบสังคมนิยมแบบพม่า ใน พ.ศ. ๒๕๐๕ โดยมีสภาปฏิวัติแห่งชาติ
(National Revolutionary Council) เป็นองค์กรบริหารประเทศ และได้เปลี่ยนชื่อประเทศเป็นสาธารณรัฐ
สังคมนิยมแห่งสหภาพพม่า(Social Republic of the Union of Burma) เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๗
ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๓๐ - ๒๕๓๑ ดร.หม่อง หม่อง ผู้น าพลเรือนได้ลุกขึ้นต่อต้านรัฐบาลของนาย
พลเนวิน ท าให้มีผู้เสียชีวิตประมาณ ๓,๐๐๐ คน ในเวลา ๖ สัปดาห์ ความวุ่นวายทางการเมืองที่เกิดขึ้น
ในขณะนั้นกลุ่มทหารได้ฉวยโอกาสท ารัฐประหารโดยสภาฟื้นฟูกฎระเบียบแห่งรัฐ(State Law and order
Restoration Council - SLORC) อ านาจจึงถูกเปลี่ยนถ่ายจากนายพลเนวิน สู่นายพลซอหม่อง ซึ่งให้
สัญญาประชาคมว่าจะจัดให้มีการเลือกตั้งขึ้นใน พ.ศ. ๒๕๓๒
๓ UNHCR. (๒๐๐๑, July). "The Repatriation Predicament of Burmese Refugees in Thailand: A Preliminary
Analysis", น. ๑๓, http://www.unhcr.org/๓b๗d๒๔๒๑๔.pdf.