Page 10 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 10
บทที่ ๑
บทน า
๑.๑ ความเป็นมาและสภาพปัญหา
พม่าหรือเมียนมาร์เป็นประเทศหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพื้นที่ ๖๗๘,๕๐๐ ตาราง
กิโลเมตร ทิศเหนือติดกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชน
ลาว ทิศตะวันตกติดกับสาธารณรัฐบังกลาเทศ และสาธารณรัฐอินเดีย ทิศตะวันออกและทิศใต้ติดกับ
ประเทศไทย พม่ายังเป็นประเทศที่มีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ ทรัพยากรที่ส าคัญ ได้แก่
น ้ามัน ไม้ แร่ธาตุต่าง ๆ ถ่านหิน อัญมณี และก๊าซธรรมชาติ สัดส่วนของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ
(GDP) ส่วนใหญ่มาจากภาคเกษตรกรรมร้อยละ ๕๙ อุตสาหกรรมร้อยละ ๑๑ บริการร้อยละ ๓๐ และมี
สัดส่วนประชากรที่ยากจนสูงถึงร้อยละ ๒๓
พม่าประกอบด้วยชาติพันธุ์ที่หลากหลาย กระจายตัวกันตั้งถิ่นฐานอยู่ตามภูมินิเวศน์ต่าง ๆ ชาติ
พันธุ์พม่าเป็นประชากรส่วนใหญ่ (ประมาณร้อยละ ๖๘) จะอาศัยอยู่ในบริเวณที่ราบลุ่มริมแม่น ้า โดยอยู่
ร่วมกับชาวมอญ และชาวกะเหรี่ยงที่อพยพลงมาจากภูเขาสูง ในขณะที่ชนกลุ่มอื่นจะอาศัยอยู่ในบริเวณที่
ราบสูง หรือเทือกเขาสูงบริเวณชายแดน ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ อาทิ ไทยใหญ่ (Shan)
กะเหรี่ยง (Karen) คะฉิ่น (Kachin) ฉิ่น (Chin) ว้า (Wa) ยะไข่ (Arakanist) และชาวเขาเผ่าต่าง ๆ เช่น
มูเซอ อาข่า ลีซอ ปะหล่อง จีนโกกัง โรฮิงญา เป็นต้น ชนกลุ่มน้อยชนต่าง ๆ เหล่านี้รวมกันประมาณร้อย
ละ ๓๒ ของประชากรพม่า โดยมีไทยใหญ่ กะเหรี่ยง มอญ และคะฉิ่น มีจ านวนประชากรรองลงมาจาก
ชาติพันธุ์พม่าตามล าดับ
ในทางประวัติศาสตร์พม่ามีความขัดแย้ง และการสู้รบมานานแล้วระหว่างชนเผ่าที่เข้าครอบครอง
พม่าดั้งเดิม คือ มอญซึ่งอพยพจากทางตะวันออกเข้ามายังพม่าภาคใต้ กับกลุ่มชาติพันธุ์พม่าซึ่งบ้างก็
เรียกว่า ปยุ (Pyu) ที่อพยพมาจากจีนซึ่งเริ่มมีบทบาทในศตวรรษที่ ๙ โดยการก่อตั้งอาณาจักรพุกาม และ
มีอิทธิพลในการควบคุมลุ่มน ้าอิระวดี รวมถึงเส้นทางการค้าระหว่างจีน-อินเดีย
ความขัดแย้งระหว่างทหารรัฐบาลทหารพม่า และกองก าลังชนกลุ่มน้อยกลุ่มต่าง ๆ เป็นสงครามที่
ยืดเยื้อกินเวลานาน นับถอยหลังไปได้จนถึงสมัยพม่าตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๖๗