Page 11 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 11

๒
                                       รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”





                  เป็นต้นมา  ตั้งแต่สมัยที่พม่าได้รับเอกราชจากอังกฤษเมื่อ พ.ศ.  ๒๔๙๑ ปมแห่งปัญหาของความขัดแย้ง

                  ระหว่างรัฐบาลทหารพม่ากับชนกลุ่มน้อยในพม่า เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่สนธิสัญญาปางโหลงที่เป็นการตกลง


                  ระหว่างรัฐบาลทหารพม่าและผู้แทนของรัฐฉาน คะฉิ่น และฉิ่น โดยมีสาระส าคัญ คือ รัฐฉาน คะฉิ่น และ

                  ฉิ่น จะให้ความร่วมมือกับรัฐบาลชั่วคราวพม่าในครั้งนั้น โดยจะได้รับอิสรภาพในการปกครองตนเองเป็น

                  การตอบแทน แต่เกิดเหตุการณ์เมื่อวันที่ ๑๙  กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๙๐    นายพลอองซาน ถูกลอบสังหาร

                                                     ๑
                  พร้อมกับสมาชิกในคณะรัฐบาลอีก ๖ คน  และเมื่อวันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ.๒๕๐๕ นายพลเนวิน ยึดอ านาจ
                  จากกลุ่มของนายพลอองซาน พร้อมทั้งยกเลิกสนธิสัญญาปางโหลง นับแต่บัดนั้น ความสัมพันธ์ระหว่าง

                                            ๒
                  ไทยใหญ่กับพม่าได้ขาดจากกัน


                         นอกจากนี้ในยุคล่าอาณานิคม อังกฤษได้แผ่อิทธิพลเข้ามายึดครองพม่าโดยพม่าได้ท าสงคราม

                  กับอังกฤษถึง ๓ ครั้ง ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๗ เสร็จสิ้นใน พ.ศ. ๒๓๖๙ พม่าพ่ายแพ้ และเสียดินแดนริม

                  ทะเลตามสนธิสัญญายันดาโบ  ครั้งที่ ๒   เมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๕ พม่าเสียมณฑลพะโค  ครั้งที่ ๓  เมื่อ พ.ศ.

                  ๒๔๒๘ พม่าพ่ายแพ้และกลายเป็นอาณานิคมของอังกฤษใน พ.ศ. ๒๔๒๙  โดยอังกฤษได้ผนวกพม่า และ


                  ดินแดนของชนกลุ่มน้อยต่าง ๆ  เข้าเป็นมณฑลหนึ่งของอินเดีย ซึ่งอังกฤษเป็นเจ้าอาณานิคมในขณะนั้น

                  รัฐบาลอังกฤษเข้ามาปกครองพม่าโดยใช้นโยบาย  “แบ่งแยกและปกครอง”  (divide  and  rule  policy)

                  เพราะอังกฤษได้แบ่งแยกรัฐของกลุ่มน้อยออกจากรัฐของชาวพม่า  และใช้ระบบการปกครองที่ต่างกัน

                  ออกเป็น ๒ ส่วน คือ “พม่าแท้” (Burma proper) กับ “เขตชายแดน” (Frontier Areas)



                         พม่าเริ่มท าสงครามต่อต้านอังกฤษ จนสามารถแยกออกจากอินเดียได้ใน พ.ศ. ๒๔๘๐ ต่อมา ใน

                  พ.ศ. ๒๔๘๕  เกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒  ญี่ปุ่นเข้ายึดครองพม่า และสนับสนุนให้พม่าต่อต้านอังกฤษโดย

                  ญี่ปุ่นสัญญาว่าจะให้เอกราชกับพม่า จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๔๙๑ นายพลอองซาน ได้จัดตั้งขบวนการต่อสู้เพื่อ

                  เอกราชจากญี่ปุ่น และอังกฤษ จนท าให้พม่าได้รับเอกราชจากอังกฤษเมื่อวันที่ ๔  มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๑

                  และจัดให้มีการเลือกตั้งในเดือนเมษายนปีเดียวกัน   กลุ่มของนายพลอองซาน ได้รับชัยชนะในการ







                  ๑  เกียรติชัย พงษ์พาณิชย์. “พม่าผ่าเมือง”. ประพันธ์สาส์น: กรุงเทพฯ, น.  ๒๙๑

                  ๒  Tai Freedom. (๒๐๐๙, January ๒๔). “ความเป็นมาของหนังสือสัญญาปางหลวง (ป๋ างโหลง)”,

                  http://www.taifreedom.com/tha/index.php?id=๘๒&option=com_content&view=article.
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16