Page 4 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 4
๑. สถานการณ์ของผู้ลี้ภัยจากประเทศเมียนมาร์ ในพื้นที่ที่มีการอพยพของผู้หนีภัยสงครามเมื่อ
ปลายปี พ.ศ. ๒๕๕๓ พบว่า อ าเภอแม่สอด จังหวัดตาก มีผู้ลี้ภัยเข้ามามากที่สุดประมาณ ๒๕,๐๐๐ คน ล าดับ
ต่อมาคืออพยพเข้ามาทางอ าเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ประมาณ ๘๐ คน มีพวกที่หลบอยู่ตามป่าตาม
เขาประมาณ ๑,๐๐๐ คน กระจายกันอยู่เป็นกลุ่ม กลุ่มละ ๑๐๐ คนบ้าง ๙๐ คนบ้าง บางคนได้ไปอาศัยอยู่กับ
ญาติในชุมชนมอญ กลุ่มที่ใหญ่ที่สุดเข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์ ต าบลหนองลู อ าเภอสังขละบุรี ประมาณ
๓,๐๐๐ คน ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีการสู้รบครั้งใหญ่เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๙ ท าให้มีผู้ลี้ภัยไหลทะลักเข้ามาอยู่ที่พัก
พิงชั่วคราวบ้านแม่สุริน อ าเภอขุนยวม บ้านแม่ลามาหลวงและบ้านแม่ละอูนอ าเภอสบเมย บ้านใหม่ในสอย
อ าเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ มีการสู้รบระหว่างรัฐบาลทหารพม่ากับกองก าลังรัฐฉานเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๕ นาน
กว่าหนึ่งเดือน ท าให้มีชาวบ้านจาก ๔ หมู่บ้านตามบริเวณชายแดนพม่าอพยพเข้ามาในฝั่งไทยประมาณ ๙๐๐
คน / ๒๕๐ ครัวเรือน และที่จังหวัดเชียงราย การสู้รบครั้งใหญ่เมื่อปลายปี พ.ศ. ๒๕๕๓ ท าให้ผู้หญิงและเด็ก ลี้
ภัยเข้ามาทางด่านที่อ าเภอแม่สาย เข้ามาอาศัยอยู่กับญาติ เนื่องจากเป็นพื้นที่ปลอดภัย ผู้ลี้ภัยทั้ง ๕ พื้นที่ได้รับ
การดูแลจากฝ่ายปกครองของไทย และกองก าลังผาเมืองโดยมีการจัดที่พักพิงชั่วคราวให้ เมื่อฝ่ายทหารได้รับ
ข่าวว่า การสู้รบในฝั่งพม่าสงบลงแล้ว ก็มีการส่งผู้ลี้ภัยกลับ แต่การสู้รบมิได้ยุติลงจริง ท าให้ผู้ลี้ภัยต้องกลับเข้า
มายังฝั่งประเทศไทย ๓-๔ รอบ
ปัจจุบันการสู้รบได้ยุติลง ผู้ลี้ภัยส่วนใหญ่จึงกลับไปยังถิ่นที่อยู่ของตนแล้ว เพราะมีที่ดินท ากินและเลือก
สวนไร่นาที่ต้องดูแล แต่ยังมีผู้ลี้ภัยบางส่วนกระจายตัวอยู่กับญาติพี่น้องในชุมชน เช่นที่จังหวัดตาก กระจายอยู่
ใน ๓ อ าเภอ คือ อ าเภอพบพระ อ าเภออุ้มฝาง และ อ าเภอท่าสองยาง รวมทั้งสิ้นประมาณ ๔,๐๐๐ คน ผู้ลี้ภัย
ที่เป็นเด็กประมาณ ๓,๐๐๐ คน ต้องพักพิงอยู่ในบ้านพักซึ่งเรียกว่า Boarding House ประมาณร้อยละ ๖๐-
๗๐ มาจากภาวะสงคราม สภาพความเป็นอยู่ของเด็กค่อนข้างล าบาก ส าหรับผู้ที่อยู่ในวัยแรงงาน ก็จะมีอาชีพ
รับจ้างรายวันในภาคเกษตรได้ค่าแรงวันละ ๘๐ บาท ขณะที่ค่าแรงขั้นต ่าจังหวัดตากวันละ ๑๗๐ บาท ผู้ที่อยู่ที่ที่
บ้านแม่สามแลบ อ าเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งลี้ภัยเข้ามานานแล้ว ส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับสัญชาติไทย จึง
ถูกจ ากัดการเดินทางออกนอกพื้นที่ ส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้าง รายได้เฉลี่ยต่อเดือนละ ๓,๐๐๐ บาท เด็กได้มี
โอกาสเรียนหนังสือในโรงเรียนของประเทศไทยในระดับประถมศึกษา แต่ไม่สามารถเรียนต่อในระดับที่สูงกว่า
นั้นได้ ผู้ลี้ภัยที่ยังคงอยู่ที่อ าเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรีอาศัยอยู่กับญาติพี่น้อง และเป็นแรงงานรับจ้าง
รายวันอยู่ในสวนยาง มีรายได้วันละ ๑๐๐ บาท และรับจ้างกรีดยาง มีรายได้จากน ้ายางที่กรีดได้กิโลกรัมละ ๒
บาท พอหมดฤดูกรีดยางก็ไม่มีรายได้ ที่อ าเภอแม่สาย จังหวัดเชียงรายบริเวณชายแดนที่มีการอพยพไป-มา จะ
อยู่ตามบริเวณตะเข็บที่เป็นป่าเขาในเขตอ าเภอแม่ฟ้ าหลวง และที่อ าเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่อาศัยอยู่ใน
ข