Page 5 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 5
บริเวณวัดฟ้ าเวียงอินทร์ ๑๓๒ ครัวเรือน ประชากร ๕๑๐ คนถูกจัดให้อยู่บนสันดอย “เมืองจ่อ” ติดกับชายแดน
ถูกจ ากัดพื้นที่ในการเดินทาง แต่สามารถออกไปท างานรับจ้างในภาคเกษตรบริเวณใกล้เคียงได้
๒. บทบาทของหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องกับผู้ลี้ภัย มีหน่วยงานรัฐหลายหน่วยงานที่มีบทบาทใน
การแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัย โดยมีสภาความมั่นคงแห่งชาติ มีบทบาทหลักในการก าหนดนโยบายผ่อนปรนให้ผู้ลี้ภัย
การสู้รบอาศัยอยู่ชั่วคราวตามหลักมนุษยธรรม และให้กลับสู่มาตุภูมิเมื่อสถานการณ์เอื้ออ านวย หรือให้ไปตั้ง
ถิ่นฐาน ในประเทศที่ ๓
กองก ากับการต ารวจตระเวนชายแดน มีบทบาทสนับสนุนเรื่องการรักษาความสงบเรียบร้อยในศูนย์พัก
พิง และตรวจสอบในการเดินทางเข้า-ออกนอกพื้นที่ รวมทั้งการประสานงานกับหน่วยความมั่นคงในพื้นที่ซึ่ง
ส่วนใหญ่เป็นเรื่องการรักษาความสงบเรียบร้อย และการอ านวยความสะดวกในเรื่องต่าง ๆ
ส านักงานตรวจคนเข้าเมืองมีบทบาทเป็นฝ่ายสนับสนุน จะไม่ได้เข้าไปควบคุมโดยตรง ในส่วนของ
นโยบายต่อผู้ลี้ภัยจากการสู้รบจะเป็นไปตามแนวทางที่สภาความมั่นคง และกระทรวงมหาดไทยได้ก าหนดไว้
ซึ่งผู้ลี้ภัยจากการสู้รบไม่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา ๑๗ แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง เพราะยังไม่ใช่กลุ่ม
คนที่เข้าเมืองอย่างถูกต้อง จึงต้องจ ากัดให้อยู่ในที่ ๆ จ ากัดไว้ หากออกพื้นที่ก็จะถือว่าผิด
กระทรวงการต่างประเทศมีบทบาทในการประชาสัมพันธ์การด าเนินการของไทยในการให้ความ
ช่วยเหลือผู้ลี้ตามหลักมนุษยธรรม และบนพื้นฐานของการแบ่งเบาภาระระหว่างประเทศ และร่วมมือกับ
ประชาคมระหว่างประเทศ ในการที่จะช่วยเหลือบุคคลเหล่านี้ หาทางออกที่ยั่งยืน
กระทรวงมหาดไทยรับผิดชอบควบคุมดูแลค่ายผู้ลี้ภัย ๙ แห่งใน ๔ จังหวัด ตามหลักขั้นพื้นฐานด้าน
มนุษยธรรมโดยประสานงานกับ UNHCR ซึ่งช่วยเหลือเรื่องจัดท าทะเบียน การย้ายพื้นที่พักพิง และเตรียมการ
ส่งกลับ
กระทรวงกลาโหม (กองก าลังผาเมือง) ด าเนินการตามนโยบายของกองทัพบก เมื่อมีผู้ลี้ภัยเข้ามาก็จะ
จัดก าลังไปดูแล และตรวจสอบ และพยายามใช้มาตรการทางทหารไม่ให้มีการข้ามชายแดนเข้ามา
ค