Page 3 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 3

บทคัดย่อ






                      การวิจัยเรื่อง “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”

               มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ เพื่อศึกษาสถานการณ์ของผู้ลี้ภัยจากประเทศเมียนมาร์ที่อาศัยอยู่ในศูนย์อพยพ
               และเหตุผล หรือความจ าเป็นของผู้ลี้ภัยจากประเทศพม่าที่ต้องหลบซ่อนอยู่ตามบริเวณป่าเขา และเพื่อสร้างการ

               มีส่วนร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคประชาสังคม และสถาบันวิชาการ ในการก าหนดนโยบาย และมาตรการ

               คุ้มครองสิทธิมนุษยชนให้กับผู้ลี้ภัยจากประเทศพม่าที่เป็นระบบ และเป็นไปตามหลักการคุ้มครองสิทธิ

               มนุษยชนระดับสากล


                      ขอบเขตการศึกษาด้านเนื้อหา ศึกษาสถานการณ์ความเป็นอยู่ของผู้ลี้ภัย นโยบายและบทบาทของ
               หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในส่วนกลางและในพื้นที่ แนวทางการปฏิบัติตามหลักการไม่ส่งผู้ลี้ภัยกลับไปสู่อันตราย

               (non-refoulement)  แนวทางการแก้ไขปรับปรุงระเบียบของหน่วยงานในพื้นที่ที่เป็นอุปสรรคในการปฏิบัติต่อ

               ผู้ลี้ภัยตามหลักสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง และระบบการประสานงานที่มีประสิทธิภาพระหว่าง

               หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยท าการศึกษาในพื้นที่ชายแดนที่ใกล้กับพื้นที่สู้รบในอ าเภอแม่สอดและท่าสอง

               ยางจังหวัดตาก  อ าเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน อ าเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ อ าเภอแม่สาย จังหวัด
               เชียงราย และอ าเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี


                       วิธีการศึกษา ใช้การวิจัยนโยบาย (Policy Research) เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับผู้ลี้ภัยมีส่วนร่วม

               ก าหนดนโยบายและมาตรการที่เหมาะสม ในการปฏิบัติต่อผู้ลี้ภัยให้เป็นไปตามหลักการสิทธิมนุษยชนและไม่

               ส่งผู้ลี้ภัยกลับไปสู่อันตราย โดยการเข้าพบเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) และเจ้าหน้าที่ระดับสูง

               เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารสถานการณ์ด้านผู้ลี้ภัย และเชิญชวนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการวิจัย  ลงพื้นที่

               สังเกตการณ์ (Observation) เก็บข้อมูลสถานการณ์ความเป็นอยู่ของผู้ลี้ภัย และความคิดเห็นของประชาชน
               ตามบริเวณชายแดนที่มีต่อผู้ลี้ภัย จัดเวทีเสวนานโยบาย (Policy  Forum) ในส่วนกลางและในพื้นที่ที่มีผู้ลี้ภัย

               โดยร่วมมือกับสภาความมั่นคงแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงการต่างประเทศ กองก าลังผา

               เมือง ส านักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ องค์กรภาคประชาสังคมด้านผู้ลี้ภัย และนักวิชาการ

               ผู้เชี่ยวชาญด้านผู้ลี้ภัย  และจัดสนทนากลุ่ม (Focus  Group  Discussion)ในพื้นกับกลุ่มผู้ลี้ภัย  ผลการ
               ศึกษาวิจัย มีดังนี้





                                                              ก
   1   2   3   4   5   6   7   8