Page 13 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 13

๔
                                       รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”





                         ในขณะนั้น นางออง ซานซูจี บุตรสาวของนายพลอองซาน ได้เดินทางกลับมาจากอังกฤษเมื่อ

                  พ.ศ. ๒๕๓๑ เพื่อพยาบาลมารดา และเข้าร่วมชุมนุมทางการเมืองเพื่อต่อต้านรัฐบาลทหารพม่า จน


                  กลายเป็นผู้น า และสัญลักษณ์ของการต่อสู้เพื่อเสรีภาพ ประชาธิปไตย และได้รับแรงสนับสนุนจาก

                  ประชาชนที่ร่วมต่อสู้ให้จัดตั้งพรรคการเมืองชื่อ สันนิบาติแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย  (National  League

                  for Democracy - NLD) ส่งผู้สมัครเข้ารับการเลือกตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๓


                         ผลการเลือกตั้งทั่วไปในพม่าเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๓   พรรค NLD ได้รับชัยชนะ โดยได้รับคะแนนเสียง


                  ร้อยละ ๕๙  ของทั้งประเทศ และได้ ๓๙๒  ที่นั่งจาก ๔๘๕  ที่นั่ง หรือคิดเป็นร้อยละ ๘๑  แต่ SLORC ไม่

                  ยอมรับผลการเลือกตั้งนี้ นางอองซานซูจี จึงถูกควบคุมตัวโดยกักบริเวณให้อยู่ภายในบ้าน และห้าม

                  ติดต่อสื่อสารกับบุคคลภายนอก นางอองซานซูจียึดมั่นในสันติวิธี ไม่เคยเรียกร้องให้ผู้สนับสนุนทางการ

                  เมืองของเธอใช้ความรุนแรงในการเคลื่อนไหว โค่นล้มรัฐบาลทหารพม่าแต่อย่างใด ระหว่างถูกควบคุมตัว

                  เธอได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพใน พ.ศ. ๒๕๓๔  นอกจากนี้ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๐  รัฐบาลแคนาดา

                  ประกาศให้เธอเป็น ๑ ใน ๕ ของบุคคลที่ได้รับเกียรติเป็นพลเมืองกิตติมศักดิ์  อีกด้วย



                         รัฐบาลทหารพม่าเริ่มผ่อนปรนให้เธอสามารถออกจากบ้านพักได้ช่วงระยะเวลาสั้น ๆ แต่ด้วย

                  ความเกรงกลัวในศักยภาพในตัวเธอที่อาจเป็นผู้น าในการเปลี่ยนแปลงอ านาจการเมืองการปกครองใน

                  ประเทศเมียนมาร์ จึงสร้างข้อกล่าวหากักขังเธอไว้ในบ้านพักอีกหลายครั้ง  การกระท าเช่นนี้ กลับท าให้

                  นางอองซานซูจีได้รับความเห็นใจจากนานาชาติมากขึ้น   นับตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๙ เป็นต้นมา ประเทศ


                  ตะวันตกเริ่มใช้นโยบายคว ่าบาตรทางเศรษฐกิจกับรัฐบาลทหารพม่า โดยเริ่มจากธนาคารโลกและกองทุน

                  การเงินระหว่างประเทศ (IMF)  เพื่อกดดันให้ปล่อยตัวนางอองซานซูจี และนักโทษทางการเมือง รวมทั้งยุติ

                  การละเมิดสิทธิมนุษยชน แต่จีน และญี่ปุ่นยังคงคบค้ากับรัฐบาลทหารพม่า โดยเข้าไปลงทุนและแสวงหา

                  ผลประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในประเทศเมียนมาร์ รวมทั้งกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านในฐานะ

                  ประชาคมอาเซียนที่ยึดถือนโยบายการทูตเชิงสร้างสรรค์  (constructive engagement policy)  โดยมอง

                  ว่าประเทศเมียนมาร์เป็นหนึ่งในสมาชิกอาเซียน พร้อมทั้งสนับสนุนให้รัฐมนตรีต่างประเทศของเมียนมาร์


                  เป็นประธานอาเซียน


                         อย่างไรก็ตาม การอยู่ในอ านาจของรัฐบาลทหารพม่าเป็นเวลายาวนานเป็นเวลากว่า 50  ป ี  การ

                  ต่อสู้กับกองก าลังชนกลุ่มน้อยอย่างต่อเนื่อง และการคว ่าบาตรทางเศรษฐกิจของนานาชาติ ท าให้ประเทศ
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18