Page 36 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 36
๒๗
รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”
เมืองเพื่อท างานอันจ าเป็นเเละเร่งด่วนที่มีระยะเวลาท างานไม่เกินสิบห้าวัน แต่คนต่างด้าวจะท างานนั้นได้
เมื่อได้มีหนังสือแจ้งให้นายทะเบียนทราบ
มาตรา ๑๔ คนต่างด้าวซึ่งมีภูมิล าเนาและเป็นคนสัญชาติของประเทศที่มีชายแดนติดกับประเทศ
ไทย ถ้าได้เข้ามาในราชอาณาจักรโดยมีเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง
อาจได้รับอนุญาตให้ท างานบางประเภทหรือลักษณะงานในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวในช่วง
ระยะเวลาหรือตามฤดูกาลที่ก าหนดได้ ทั้งนี้ เฉพาะการท างานภายในท้องที่ที่อยู่ติดกับชายแดนหรือท้องที่
ต่อเนื่องกับท้องที่ดังกล่าว
คนต่างด้าวซึ่งประสงค์จะท างานตามวรรคหนึ่ง ให้ยื่นค าขอรับใบอนุญาตท างานชั่วคราวพร้อม
กับแสดงเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางต่อนายทะเบียนและช าระค่าธรรมเนียมตามที่ก าหนดใน
กฎกระทรวง
ในการออกใบอนุญาต ให้นายทะเบียนระบุท้องที่หรือสถานที่ที่อนุญาตให้ท างาน ระยะเวลาที่
อนุญาตให้ท างาน ประเภทหรือลักษณะงาน และนายจ้างที่คนต่างด้าวนั้นจะไปท างานด้วย ทั้งนี้ ตาม
แบบและวิธีการที่ก าหนดในกฎกระทรวง
ความในมาตรานี้จะใช้บังคับกับท้องที่ใด ส าหรับคนต่างด้าวสัญชาติใด เพื่อท างานประเภทหรือ
ลักษณะใด ในช่วงระยะเวลาหรือฤดูกาลใด โดยมีเงื่อนไขอย่างใด ให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีก าหนด
โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
๒.๔.๔ สิทธิในการรับการศึกษา
ในทางกฎหมาย ผู้ลี้ภัยได้รับสิทธิทางการศึกษาเหมือนกับเด็กไทย ดังปรากฏในมติ
คณะรัฐมนตรีวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๔๘ เรื่องการศึกษา และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.
๒๕๕๐
มติคณะรัฐมนตรีวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๔๘ เรื่องการศึกษา กล่าวว่า “คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้
ขยายโอกาสทางการศึกษาของบุคคลในกลุ่มดังกล่าวซึ่งท าให้เด็กทุกคนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยซึ่ง
รวมถึงเด็กชาติพันธุ์ เด็กไร้รัฐ บุตรของแรงงานโยกย้ายถิ่นฐาน รวมทั้งเด็กที่เป็นผู้หลบหนีเข้าเมืองทุกคน
มีสิทธิเรียนฟรี ๑๕ ปี รัฐบาลได้จัดสรรค่าใช้จ่ายรายหัวของเด็กกลุ่มนี้ในอัตราเดียวกับค่าใช้จ่ายรายหัวที่