Page 35 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 35
๒๖
รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”
รัฐบาลไทยยินยอมให้ผู้หนีภัยจากการสู้รบพักอาศัยอยู่ในประเทศไทยโดยมีเงื่อนไข ๓ ประการ
๑) ยอมให้อยู่ในราชอาณาเขตประเทศไทยได้เป็นการชั่วคราว เมื่อผู้หนีภัยจากการสู้รบข้าม
ชายแดนเข้ามาเขตประเทศไทยจะอ านวยความสะดวกและช่วยเหลือให้ที่พักพิงชั่วคราว
ในพื้นที่ปลอดภัยบนพื้นฐานของหลักมนุษยธรรม
๒) ผู้หนีภัยจากการสู้รบต้องอยู่ในพื้นที่ที่ทางราชการจัดให้เท่านั้นและสถานที่นั้นเป็นพื้นที่
พักพิงชั่วคราว ไม่ใช่ค่ายผู้ลี้ภัย
๓) เมื่อการสู้รบในประเทศเมียนมาร์สิ้นสุดลงหรือเมื่อสภาวะความไม่สงบ ความไม่
ปลอดภัยผ่านพ้นไป ผู้หนีภัยจากการสู้รบต้องเดินทางกลับประเทศของตนทันทีโดยฝ่าย
ไทยจะเป็นผู้อ านวยความสะดวกและให้ความช่วยเหลือให้เดินทางกลับประเทศด้วย
ความปลอดภัยและสมศักดิ์ศรี
๒.๔.๓ สิทธิในการท างาน ตามหลักความเสมอภาคทางกฎหมาย ลูกจ้างทุกคนจะได้รับการ
คุ้มครองแรงงานตามกฎหมาย โดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ. ๒๕๔๑ ได้ก าหนดให้ลูกจ้างทุก
คนมีสิทธิได้รับค่าแรงที่ไม่ต ่ากว่าค่าแรงขั้นต ่าตามกฎหมายก าหนด ชั่วโมงการท างาน ค่าล่วงเวลา และ
สวัสดิการต่างๆ ในอัตราที่เท่าเทียมกันส าหรับงานที่มีลักษณะ คุณภาพ และปริมาณอย่างเดียวกัน ดังนั้น
ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้มีปัญหาสถานะบุคคลที่ได้รับการจ้างงานในฐานะแรงงาน ก็ย่อมได้รับการคุ้มครองภายใต้
กฎหมายคุ้มครองแรงงานและมีสิทธิตามกฎหมายที่จะได้รับค่าจ้างที่เท่าเทียมกับกับแรงงานประเภทอื่น ๆ
อย่างไรก็ตาม ผู้ลี้ภัยยังคงมีข้อจ ากัดในการท างาน หรือหากต้องการท างาน ต้องมีการยื่นเอกสาร
ขออนุญาตและได้รับการอนุมัติจากนายทะเบียน ซึ่งระบุไว้ใน พระราชบัญญัติการท างานของคนต่างด้าว
พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๗ มาตรา ๙ และมาตรา ๑๔ ดังนี้
มาตรา ๗ งานใดที่คนต่างด้าวอาจท าได้ในท้องที่ใด เมื่อใด ให้เป็นไปตามที่ก าหนดใน
กฎกระทรวง โดยค านึงถึงความมั่นคงของชาติ โอกาสในการประกอบอาชีพของคนไทยและความต้องการ
แรงงานต่างด้าวที่จ าเป็นต่อการพัฒนาประเทศ ...
มาตรา ๙ ห้ามมิให้คนต่างด้าวท างานใดนอกจากงานตามมาตรา ๗ และได้รับใบอนุญาตจาก
นายทะเบียน เว้นแต่คนต่างด้าวซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้า