Page 34 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 34
๒๕
รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”
มาตรา ๕๔ “คนต่างด้าวผู้ใดเข้ามาหรืออยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือการ
อนุญาตนั้นสิ้นสุด หรือถูกเพิกถอนแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่จะส่งตัวคนต่างด้าวผู้นั้นกลับออกไปนอก
ราชอาณาจักรก็ได้”
กฎหมายฉบับนี้ ได้ให้อ านาจพนักงานเจ้าหน้าที่ในการส่งคนต่างด้าวออกไปนอกราชอาณาจักร
ตามมาตรา ๒๒ วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติตรวจคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ ประเทศไทยไม่มีมาตรการ
ใดที่ผลักดันบุคคลออกนอกราชอาณาจักรเว้นแต่ตามกฎหมายคนเข้าเมืองและกฎหมายเนรเทศ
๒.๔.๒ สิทธิในการไม่ถูกลงโทษทางอาญาเพราะการเข้าเมืองหรือการปรากฏตัวอย่าง
ผิดกฎหมายในรัฐ กฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการคุ้มครองสิทธิในการไม่ถูกลงโทษทางอาญาเพราะการ
เข้าเมืองหรือการปรากฏตัวอย่างผิดกฎหมายในรัฐ ประกอบด้วย
ก. พ.ร.บ. ตรวจคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒
ข. หนังสือด่วนมาก ที่ มท ๐๒๐๕.๓/๗๘๐๔ เรื่อง หารือแนวทางปฏิบัติต่อผู้หนีภัยจากการสู้รบ
ชาวพม่า
ค. แนวทางแก้ไขปัญหาผู้หนีภัยจากการสู้รบจากพม่า (พ.ศ.๒๕๔๓-๒๕๔๕) ของสภาความ
มั่นคงแห่งชาติ
กระทรวงมหาดไทยก าหนดว่าผู้หนีภัยจากการสู้รบเป็นผู้เข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ภายใต้
พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ และไม่ใช่บุคคลที่ได้รับการผ่อนผันให้พักอาศัยอยู่ในประเทศ
เป็นการชั่วคราวตามมาตรา ๑๗ แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ เพียงแต่มีมติสภาความ
มั่นคงแห่งชาติและแนวทางปฏิบัติที่ผ่อนปรนให้ผู้หนีภัยการสู้รบพักอาศัยอยู่ในพื้นที่พักพิงชั่วคราวเพื่อรอ
การส่งกลับเมื่อเหตุการณ์การสู้รบยุติลง ดังนั้น หากผู้ลี้ภัยจากการสู้รบลักลอบออกนอกพื้นที่ควบคุมจะ
ถูกจับด าเนินคดีเป็นบุคคลต่างด้าวเข้าเมืองผิดกฎหมายทันที