Page 33 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 33
๒๔
รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”
แต่ในความเป็นจริงนั้น แม้ประเทศไทยมีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามหลักการห้ามผลักดันกลับ แต่
ประเทศไทยยังมีการฝ่ าฝืนหลักการดังกล่าว อาทิ กรณีผู้ลี้ภัยการสู้รบระหว่างกระเหรี่ยงพุทธ และ
๓
กะเหรี่ยงคริสต์ ปรากฏอยู่ใน ข้อเสนอแนะในการด าเนินการและแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัย
๒.๔ กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับผู้ลี้ภัย
ประเทศไทยเป็นประเทศที่รองรับผู้ลี้ภัยจ านวนมากในช่วงปี ๒๕๑๘ เมื่อผู้ลี้ภัยจ านวนหลายแสน
คนจากกัมพูชา ลาว และเวียดนามหลั่งไหลเข้ามายังประเทศไทย เหตุการณ์นั้นถูกเรียกกันว่า วิกฤติ
ผู้ลี้ภัยชาวอินโดจีน ผู้ลี้ภัยจ านวนมากกว่า ๑,๓๐๐,๐๐๐ คนได้รับการช่วยเหลือจากประเทศไทยมาเป็น
ระยะเวลาหลายปี ปัจจุบันนี้มีผู้ลี้ภัยในประเทศไทยที่ได้รับการลงทะเบียนแล้วราว ๙๕,๐๐๐ คนและผู้ขอ
ลี้ภัยอีกราว ๙,๐๐๐ คน ผู้ลี้ภัยส่วนใหญ่เป็นชนกลุ่มน้อยจากพม่า ส่วนใหญ่เป็นชาวเผ่ากะเหรี่ยงและเผ่า
กะเหรี่ยงแดง ซึ่งพักอาศัยอยู่ในค่ายพักพิงชั่วคราวจ านวนเก้าแห่งในสี่จังหวัดชายแดนไทย-พม่า รัฐบาล
ไทยเป็นผู้ด าเนินการในค่ายทุกแห่ง โดยได้รับความช่วยเหลือเกือบทั้งหมดจากองค์กรพัฒนาเอกชน
(NGOs) ผู้ลี้ภัยจ านวนมากกว่า ๕๕,๐๐๐ คนจากพม่า (และจ านวนอีกเล็กน้อยจากประเทศอื่น ๆ) ได้
เดินทางออกจากประเทศไทยเพื่อเข้าไปตั้งถิ่นฐานใหม่ในประเทศอื่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา และ
ออสเตรเลียได้รับรองที่จะรองรับผู้ลี้ภัยจ านวนมากจากประเทศไทย
อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาตามสิทธิต่าง ๆ ตามอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ๑๙๕๑ แล้ว
ประเทศไทยได้มีการออกกฎหมายและระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติต่อผู้ลี้ภัย ซึ่งสามารถ
จ าแนกได้ตามสิทธิในอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. ๑๙๕๑ ดังนี้
๒.๔.๑ สิทธิในการไม่ถูกขับไล่, สิทธิในการไม่ถูกผลักดันกลับ (non refoulement)
กฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อสิทธิในการไม่ถูกขับไล่ และสิทธิในการไม่ถูกผลักดันกลับ คือ
พระราชบัญญัติตรวจคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ มี ๒ มาตราที่เกี่ยวข้อง คือ
มาตรา ๒๒ “ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจ พบว่าคนต่างด้าวซึ่งมีลักษณะต้องห้ามมิให้เข้า
มาในราชอาณาจักรตามมาตรา ๑๒ เข้ามาในราชอาณาจักร ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอ านาจสั่งให้คน
ต่างด้าวผู้นั้นกลับออกไปนอกราชอาณาจักรได้ โดยมีค าสั่งเป็นหนังสือ…”
๓ http://www.statelessperson.com/www/?q=node/๗๗๔๖