Page 32 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 32
๒๓
รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”
๒) กฎหมายระหว่างประเทศที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
นักกฎหมายระหว่างประเทศรวมทั้งองค์การระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมัชชาใหญ่
องค์การสหประชาชาติเห็นว่า หลักการห้ามผลักดันกลับนี้ได้รับการยอมรับและปฏิบัติร่วมกันในสังคม
ระหว่างประเทศจนมีสถานะเป็นกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ ซึ่งท าให้มีหลักการห้ามผลักดัน
กลับนี้ผูกพันรัฐทุกรัฐให้ปฏิบัติตามไม่ใช่เฉพาะรัฐภาคีเท่านั้น
๒.๓.๒ ประเทศไทยกับหลักการห้ามผลักดันกลับ
ประเทศไทยมีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามหลักการห้ามผลักดันกลับเพราะสาเหตุส าคัญสอง
ประการ
สาเหตุประการแรก ไทยต้องปฏิบัติตามหลักการห้ามผลักดันกลับเพราะพันธกรณีในกติกา
ระหว่างประเทศที่ประเทศไทย และอนุสัญญาที่ประเทศไทยเป็นภาคี ได้แก่
- กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ค.ศ. ๑๙๖๖
- กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ค.ศ. ๑๙๖๖
- อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีทุกรูปแบบ ปี ๑๙๘๑
- อนุสัญญาต่อต้านการทรมาน การปฏิบัติ หรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย ่ายี
ศักดิ์ศรี ค.ศ. ๑๙๘๔
- อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ๑๙๘๙
สาเหตุประการที่สอง ต้องปฏิบัติตามพันธกรณีตามกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ
เนื่องจากกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศนั้นมีผลผูกพันรัฐทุกรัฐ โดยไม่ค านึงว่ารัฐนั้น
เป็นภาคีของตราสารระหว่างประเทศหรือไม่ เมื่อหลักการห้ามผลักดันกลับเป็นกฎหมายจารีตประเพณี
ประเทศไทยย่อมต้องปฏิบัติตามหลักการห้ามผลักดันกลับนี้ แม้แต่กรณี ที่ประเทศไทยไม่ได้เป็นภาคี
อนุสัญญาใดที่มีการรับรองหลักการห้ามผลักดันกลับไว้เลยก็ตาม