Page 31 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 31
๒๒
รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”
จากบทบัญญัติในมาตรานี้ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ(UN Human Rights
๑
Committee) ได้ตีความว่า รัฐภาคีต้องไม่ให้ปัจเจกชนตกอยู่ในอันตรายจากการทรมาน ปฏิบัติหรือ
ลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย ่ายีซึ่งศักดิ์ศรีจากการกลับคืนสู่ประเทศอื่นโดยการส่งตัวเป็นผู้ร้าย
ข้ามแดน การขับไล่ หรือการผลักดันกลับ บุคคลใดออกจากดินแดน ซึ่งมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีความเสี่ยง
ที่แท้จริงต่ออันตรายที่ไม่สามารถเยียวยาได้ โดยสิทธินี้เป็นสิทธิของคนทุกคนที่อยู่ในดินแดนและในทุก
สถานการณ์โดยไม่อาจเพิกถอนได้ จากการตีความดังกล่าวนี้เอง ท าให้บทบัญญัติในมาตรา ๗ นี้มี
ขอบเขตที่ครอบคลุมถึง หลักการห้ามผลักดันกลับ
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
เช่นเดียวกับกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง อนุสัญญาว่าด้วย
สิทธิเด็กไม่ได้มีการกล่าวถึงหลักการห้ามการผลักดันกลับโดยตรง แต่มีมาตรา ๗ ซึ่งกล่าวว่า
“ ไม่มีบุคคลใดตกอยู่ภายใต้การทรมานหรือการปฏิบัติ หรือลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม
หรือย ่ายีศักดิ์ศรี”
จากมาตรานี้ คณะกรรมการว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ (Committee on the rights of
the Child) ได้ขยายขอบเขตของมาตรานี้ ว่า รัฐภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กจะต้องไม่ส่งเด็กกลับสู่
ประเทศที่มีมูลเหตุอันเชื่อได้ว่ามีความเสี่ยงต่ออันตรายที่ไม่สามารถแก้ไขได้ต่อเด็ก โดยไม่มีข้อจ ากัด
๒
ภายใต้การพิจารณาตามมาตรา ๖ สิทธิในชีวิตและมาตรา ๓๗ สิทธิในเสรีภาพจากการทรมาน
นอกจากนี้ กฎหมายระหว่างประเทศในระดับภูมิภาคก็ได้มีการก าหนดหลักการนี้ไว้เช่นกัน เช่น
อนุสัญญาระหว่างองค์การรัฐเอกภาพแห่งภาคพื้นทวีปแอฟริกาว่าด้วยการบังคับใช้ในลักษณะของปัญหา
ผู้ลี้ภัยในภาคพื้นทวีปแอฟริกา ค.ศ. ๑๙๖๙ ปฏิญญาคาร์เทฮีนาว่าด้วยผู้ลี้ภัย ค.ศ. ๑๙๘๔
๑
UN Human Rights Committee, General Comment No.๒๐ (๑๙๙๒), UN Doc. HRI/GEN/REV. ๑,๓๐, (๒๘ July
๑๙๙๔)
๒
General Comment No. ๖ (๒๐๐๕) on the Treatment of unaccompanied and separated children outside their
country of origin, UN Doc. CRC/GC/soo๕/๖