Page 30 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 30
๒๑
รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”
“ รัฐภาคีผู้ท าสัญญาจะไม่ขับไล่หรือส่งกลับ (ผลักดัน) ผู้ลี้ภัยไม่ว่าจะโดยลักษณะใด ๆ ไปยัง
ชายเขตแห่งดินแดน ซึ่ง ณ ที่นั้นชีวิตหรืออิสรภาพของผู้ลี้ภัยอาจได้รับการคุกคามด้วยสาเหตุทางเชื้อชาติ
ศาสนา สัญชาติ สมาชิกภาพของกลุ่มทางสังคมใด ๆ หรือเพราะความเห็นทางการเมือง”
โดยหลักการห้ามผลักดันกลับนี้ใช้เฉพาะผู้ลี้ภัยและใช้เฉพาะสถานการณ์ที่คุกคามต่อชีวิตและ
เสรีภาพต่อการประหัตประหารเนื่องจากมูลเหตุที่ก าหนดไว้ในมาตรานี้เท่านั้น อีกทั้ง อนุสัญญาฉบับนี้
ห้ามมิให้ผู้ลี้ภัยที่มีเหตุอันสมควรเชื่อได้ว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศที่ได้เข้าไปพ านักอยู่หรือโดย
ค าพิพากษาสูงสุดถูกตัดสินว่ากระท าความผิดร้ายแรงอันเป็นภัยต่อประชาคมของประเทศนั้น
อนุสัญญาต่อต้านการทรมาน การปฏิบัติ หรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย ่ายี
ศักดิ์ศรี ค.ศ. ๑๙๘๔
อนุสัญญาฉบับนี้มุ่งคุ้มครองสิทธิมนุษย์ทุกคน ผู้ลี้ภัยในฐานะมนุษย์คนหนึ่งย่อมได้รับความ
คุ้มครองตามอนุสัญญาฉบับด้วย โดยหลักการห้ามผลักดันกลับถูกบัญญัติไว้โดยชัดแจ้งในมาตรา ๓(๑)
“ไม่มีรัฐภาคีใดจะขับไล่ส่งกลับ (ผลักดันกลับ) หรือส่งมอบตัวบุคคลไปยังรัฐอื่นที่ซึ่งมีมูลเหตุ
เพียงพอจะเชื่อได้ว่าเขาอาจตกอยู่ในอันตรายจากการทรมาน”
โดยบทบัญญัติตามมาตรานี้ไม่สามารถยกเลิกเพิกถอน และก าหนดข้อยกเว้นได้ จึงให้ความ
คุ้มครองแก่ผู้ลี้ภัยดีว่า หลักการเดียวกันที่ปรากฏในอนุสัญญาสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. ๑๙๕๑ ซึ่งมีก าหนด
ข้อยกเว้นกรณีที่ผู้ลี้ภัยไม่สามารถอ้างประโยชน์จากหลักการห้ามผลักดันกลับขึ้นอ้างได้ ในกรณีเป็นผู้ลี้ภัย
ที่มีเหตุอันสมควรเชื่อได้ว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ หรือมีค าพิพากษาถึงที่สุดว่ากระท าผิด
อาญาร้ายแรงอันเป็นภัยต่อประชาคมของประเทศนั้น
กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR)
กติกาฉบับนี้ไม่ได้กล่าวถึงหลักการห้ามผลักดันกลับโดยชัดแจ้ง อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาตาม
มาตรา ๗ ซึ่งบัญญัติไว้ว่า
“ไม่มีผู้ใดจะตกอยู่ภายใต้การทรมาน การปฏิบัติ หรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมหรือ
ย ่ายีซึ่งศักดิ์ศรี”