Page 29 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 29
๒๐
รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”
ผลักดันผู้ลี้ภัยนั้นออกจากอาณาเขตรัฐตนกลับไปเผชิญกับภัยการถูกประหัตประหารที่บุคคลนั้นเดินทาง
ออกมา หลักการนี้มีที่มาอันยาวนานทั้งในทางกฎหมายระหว่างประเทศ โดยถูกไว้บัญญัติตราสาร
ระหว่างประเทศหลายฉบับ เช่น อนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ๑๙๕๑ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
อนุสัญญาต่อต้านการทรมาน การปฏิบัติ หรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย ่ายีศักดิ์ศรี
ค.ศ. ๑๙๘๔ และเป็นหลักการที่ได้รับการยอมรับจากรัฐต่าง ๆ และองค์กรระหว่างประเทศว่ามีสถานะ
เป็นกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศแล้วในปัจจุบัน
๒.๓.๑. การปรากฏของหลัก Non Refoulement ในกฎหมายระหว่างประเทศ
กฎหมายระหว่างประเทศ นั้นสามารถจ าแนกได้เป็น ๒ ประเภท คือ กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์
อักษร และ กฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร หรือ กฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ หลักการ
ห้ามผลักดันกลับนี้ปรากฏอยู่ทั้งในกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและในรูปกฎหมายจารีตประเพณี
กล่าวคือ
๑) กฎหมายระหว่างประเทศที่เป็นลายลักษณ์อักษร
ลักษณะส าคัญของกฎหมายระหว่างประเทศที่เป็นลายลักษณ์อักษร คือ มีผลผูกพันเฉพาะกับรัฐที่
เข้าเป็นภาคีในกฎหมายฉบับนั้น ดังนั้น หากกฎหมายฉบับใดมีการบัญญัติหลักการห้ามผลักดันกลับไว้
รัฐที่เข้าเป็นภาคีก็มีหน้าที่ต้องเคารพและปฏิบัติตามหลักการดังกล่าว
กฎหมายระหว่างประเทศที่เป็นลายลักษณ์อักษรที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในสังคม
ระหว่างประเทศและได้บัญญัติหลักการห้ามผลักดันกลับไว้ ได้แก่
อนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ.๑๙๕๑
อนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. ๑๙๕๑ เป็นตราสารระหว่างประเทศว่าด้วยผู้ลี้ภัยที่
ก่อให้เกิดความผูกพันทางกฎหมายเป็นฉบับแรก และเป็นตราสารฉบับแรกที่กล่าวถังหลักการห้ามผลักดัน
กลับ โดยปรากฏในมาตรา ๓๓ กล่าวว่า