Page 28 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 28
๑๙
รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”
สมาชิกขออนุสัญญาฯ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการด าเนินการตามข้อเสนอต่อประเทศไทยจากการประชุม
รายงานสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ต่อคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ในเดือนมีนาคม
พ.ศ. ๒๕๕๕
๒.๒ พิธีสารเกี่ยวกับสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. ๑๙๖๗
อนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. ๑๙๕๑ เป็นตราสารระหว่างประเทศที่ได้ถูกร่างขึ้น
ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยมีการก าหนดค านิยามของค าว่า “ผู้ลี้ภัย” ไว้ในอนุสัญญา แต่การ
บังคับใช้อนุสัญญาว่าดังกล่าว กลับพบว่ามีข้อจ ากัดส าคัญสองประการ ได้แก่
ข้อจ ากัดด้านภูมิศาสตร์ ผู้ลี้ภัยตามอนุสัญญาฯฉบับนี้จะต้องเป็นผู้ลี้ภัยจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
ในทวีปยุโรป
ข้อจ ากัดด้านเวลา เหตุการณ์ที่จะท าให้บุคคลนั้นเป็นผู้ลี้ภัยตามอนุสัญญาฯนี้ได้ ต้องเป็น
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ ๑ มกราคม ค.ศ. ๑๙๕๑
จากข้อจ ากัดทั้งสองประการดังกล่าว ท าให้อนุสัญญาฯนี้ ไม่สามารถใช้กับผู้ลี้ภัยในสถานการณ์
ใหม่ ๆ ได้ และปัญหาผู้ลี้ภัยก็ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเรื่อยมา พิธีสารเกี่ยวกับสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ.
๑๙๖๗ จึงได้ถูกจัดท าขึ้นเพื่อแก้ไขข้อจ ากัดดังกล่าวของอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. ๑๙๕๑
แต่ทั้งนี้ พิธีสารเกี่ยวกับสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. ๑๙๖๗ เป็นตราสารที่เป็นอิสระ รัฐภาคีของพิธี
สารไม่จ าเป็นต้องเข้าเป็นภาคีสมาชิกของอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. ๑๙๕๑ ซึ่งปัจจุบัน
ประเทศที่เข้าเป็นภาคีของพิธีสารเกี่ยวกับสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. ๑๙๖๗ ทั้งสิ้น ๑๔๕ ประเทศ
๒.๓ หลักการห้ามผลักดันกลับ (Non – Refoulement Principle)
ตามหลักเรื่องอ านาจอธิปไตยของรัฐ รัฐย่อมมีอ านาจในการพิจารณาอนุญาตให้คนต่างด้าวเข้าสู่
ดินแดน และออกจากดินแดนของตน อย่างไรก็ตามอ านาจของรัฐในการส่งตัวคนต่างด้าวออกจากดินแดน
นั้นมีข้อจ ากัดตามกฎหมายระหว่างประเทศ ตามหลักการห้ามผลักดันกลับ
หลักการไม่ส่งผู้ลี้ภัยกลับไปสู่อันตราย นี้เป็นหลักการที่ให้ความคุ้มครองผู้ลี้ภัย ซึ่งเป็นผู้ที่เดิน
ทางเข้าสู่ดินแดนของรัฐอื่นเนื่องจากความหวาดกลัวต่อการถูกประหัตประหาร รัฐแต่ละรัฐมีหน้าที่ที่จะไม่