Page 27 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 27

๑๘
                                       รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”




                         ๒)  เป็นการ เพิ่มโอกาสของผู้ลี้ภัยในการแสวงหาความปลอดภัย



                         ๓)  เป็นการป้ องกันปัญหาความขัดแย้งระหว่างรัฐที่เป็นประเทศต้นทางและประเทศที่ให้ที่พักพิง

                             ในปัญหาผู้ลี้ภัย เมื่อรัฐอันเป็นภาคีของอนุสัญญาให้ที่ลี้ภัยแก่คนจากรัฐอื่น รัฐที่เป็นเจ้าของ

                             ผู้ลี้ภัยก็สามารถเข้าใจได้ว่าเป็นการกระท าที่สันติ  ตามหลักมนุษยธรรม และตามกฎหมาย

                             แทนที่จะเป็นการกระท าที่แสดงออกถึงความเป็นศัตรู



                         ๔)  เป็นการ แสดงให้เห็นถึงความปรารถนาของรัฐในการร่วมรับผิดชอบในการให้ความคุ้มครอง

                             แก่ผู้ลี้ภัยเป็นการช่วยเหลือส านักงานข้อหลวงใหญ่แห่งสหประชาชาติในการระดมความ


                         ๕)  คุ้มครองระหว่างประเทศแก่ผู้ลี้ภัย



                           ๒.๑.๓  สาเหตุที่ประเทศไทยไม่เข้าเป็นภาคีของอนุสัญญาสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. ๑๙๕๑


                         ประเทศไทยหยิบยกเหตุผลหลายประการเพื่อใช้อธิบายว่าเพราะเหตุใดประเทศไทยจึงไม่เข้าเป็น

                  ภาคีของอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. ๑๙๕๑ เหตุผลส าคัญสองประการอ้างอิงจาก บันทึกการ

                  ประชุมคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาปัญหาชนกลุ่มน้อยและกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย

                  ในคณะกรรมการต่างประเทศวุฒิสภา ๒ ตุลาคม ๒๕๕๑ ได้แก่



                         ประการแรก  แม้ประเทศไทยจะไม่ได้เป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. ๑๙๕๑

                  ประเทศไทยก็ได้ให้ความช่วยเหลือแกผู้ลี้ภัยอยู่แล้ว และมีมาตราช่วยเหลือที่อาจจะดีกว่าประเทศที่เป็นรัฐ

                  ภาคีสมาชิกของอนุสัญญาดังกล่าวเสียด้วยซ ้า


                         ประการที่สอง  ที่ตั้งด้านภูมิศาสตร์ของประเทศไทย มีชายแดนติดกับประเทศต่าง ๆ   ซึ่งเพื่อน


                  บ้านเหล่านั้นยังมีการพัฒนาที่ต ่ากว่าประเทศไทย  จึงมีการอพยพเข้ามาในประเทศไทยโดยอ้างสาเหตุ

                  ต่าง ๆ นานา ในการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. ๑๙๕๑ นั้น อาจเป็นปัจจัยดึงดูด

                  ให้มีผู้ลี้ภัยหลั่งไหลเข้าในประเทศไทยเป็นจ านวนมาก


                         ทั้งนี้ หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องและฝ่ายความมั่นคงได้มีพิจารณาข้อดีข้อเสียหลายครั้งแต่ยัง


                  ไม่เห็นควรที่ประเทศไทยควรเข้าเป็นรัฐภาคีสมาชิกของอนุสัญญาฯ แต่ทางกระทรวงการต่างประเทศจะได้

                  รื้อฟื้นกระบวนการคณะท างานเพื่อพิจารณาความเหมาะสมส าหรับการที่ประเทศไทยจะเข้าเป็นภาคี
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32