Page 25 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 25
๑๖
รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”
๓) หน้าที่ของผู้ลี้ภัย
นอกจากอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. ๑๙๕๑ จะก าหนดให้รัฐคุ้มครองสิทธิของผู้ลี้ภัย
แล้ว ผู้ลี้ภัยก็มีหน้าที่ต้องเคารพและปฏิบัติตามกฎหมายภายในของรัฐที่ตนเข้าไปลี้ภัย และจะต้องไม่
กระท าการใดที่อาจเป็นอันตรายต่อความปลอดภัย ความมั่นคง หรือความสงบเรียบร้อยของประชาชนใน
รัฐที่ลี้ภัย ตามอนุสัญญาฯ นี้ หน้าที่ของผู้ลี้ภัย ปรากฏอยู่ในมาตรา ๒ “ ผู้ลี้ภัยทุกคนมีหน้าที่ต่อรัฐที่ตน
เข้ามาอยู่ในอาณาเขต ซึ่งหน้าที่หมายถึงโดยเฉพาะอย่างยิ่งการปฏิบัติตามกฎหมายข้อบังคับ และ
มาตรการในการรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน ”
๔) วิธีการเข้าเป็นภาคี
อนุสัญญาฯได้ก าหนดวิธีการเข้าเป็นภาคีของอนุสัญญาไว้ในมาตรา ๓๙ เรื่องการลงนาม การให้
สัตยาบัน และการภาคยานุวัติ ดังนี้
๔.๑ อนุสัญญานี้เปิดให้ลงนาม ณ นครเจนีวาในวันที่ ๒๘ กรกฎาคม ค.ศ.๑๙๕๑ และหลังจาก
นั้นจะเก็บรักษาไว้กับเลขาธิการสหประชาชาติ
อนุสัญญาเปิดให้ลงนาม ณ ส านักงานสหประชาชาติในยุโรปตั้งแต่วันที่ ๒๘ กรกฎาคม ถึง ๓๑
สิงหาคม ค.ศ. ๑๙๕๑ และเปิดให้ลงนามได้อีกครั้ง ณ ส านักงานใหญ่ของสหประชาชาติตั้งแต่วันที่ ๑๗
กันยายน ค.ศ. ๑๙๕๑ ถึง ๓๑ ธันวาคม ค.ศ. ๑๙๕๒
๔.๒ อนุสัญญานี้จะเปิดให้ลงชื่อได้ในนามของรัฐสมาชิกองค์การสหประชาชาติทั้งหลายและใน
นามของรัฐอื่น ๆ ที่ได้รับค าเชิญให้ร่วมในการประชุมผู้มีอ านาจเต็มเรื่อง สถานภาพของผู้ลี้ภัย และบุคคล
ผู้ไร้สัญชาติ หรือต่อผู้เป็นฝ่ายซึ่งสมัชชาใหญ่จะมีค าเชิญขอให้ลงนามอนุสัญญานี้จะต้องได้รับสัตยาบัน
และสัตยาบันสารจะต้องเก็บรักษาไว้ที่เลขาธิการสหประชาชาติ
๔.๓ อนุสัญญานี้จะเปิดเพื่อการภาคยานุวัติตั้งแต่วันที่ ๒๘ กรกฎาคม ค.ศ. ๑๙๕๑ โดยรัฐซึ่ง
อ้างถึงในวรรค ๒ ของมาตรานี้ การภาคยานุวัติจะมีผลเมื่อมีการส่งมอบภาคยานุวัติสารไว้กับเลขาธิการ
สหประชาชาติ”