Page 24 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 24
๑๕
รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”
บทบัญญัติมาตรานี้เป็นการรับรอง หลักกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศหนึ่งที่มี
ความส าคัญและเป็นที่ยอมรับในสังคมระหว่างประเทศ คือ หลักห้ามผลักดันกลับ (non refoulement) ซึ่ง
เป็นหลักการส าคัญ อันจะได้กล่าวถึงต่อไป
อย่างไรก็ตามอนุสัญญาฯ นี้ได้วางข้อจ ากัดเรื่องการอ้างประโยชน์ของหลักการห้ามผลักดันกลับ
โดยระบุว่า ผู้ลี้ภัยไม่อาจกล่าวอ้างสิทธินี้ได้ หาก มีเหตุอันสมควรถือได้ว่าผู้ลี้ภัยเป็นภัยต่อความมั่นคงของ
ประเทศที่เข้าไปพ านัก หรือโดยค าพิพากษาถึงที่สุดตัดสินว่ากระท าความผิดร้ายแรงอันเป็นภัยต่อ
ประชาคมของประเทศนั้น (มาตรา ๓๓(๒))
สิทธิในการไม่ถูกขับไล่จากอาณาเขตของรัฐ มาตรา ๓๒
“รัฐภาคีผู้ท าสัญญาจะไม่ขับไล่ผู้ลี้ภัยซึ่งชอบด้วยกฎหมายจากอาณาเขตของตน เว้นเสียแต่เพื่อ
ความมั่นคงของชาติ หรือเพื่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน”
สิทธิในการไม่ถูกขับไล่จากอาณาเขตของรัฐนี้ ข้อพิจารณาส าคัญอยู่ที่ การขับไล่ผู้ลี้ภัยออกจาก
อาณาเขตของตนเสีย ไม่ได้ค านึงว่าเมื่อขับไล่ไปแล้วผู้ลี้ภัยจะถูกคุกคามชีวิตหรืออิสรภาพหรือไม่ จึงท าให้
ต่างกับกรณีการขับไล่หรือส่งกลับ ตามหลัก non refoulement ที่ได้กล่าวถึงก่อนหน้านี้
สิทธิในการไม่ถูกลงโทษทางอาญาในความผิดฐานเข้าเมืองหรือปรากฏตัวโดยผิด
กฎหมาย มาตรา ๓๑
รัฐภาคีผู้ท าสัญญาจะไม่ลงโทษทางอาญา ด้วยเหตุแห่งการเข้าเมืองหรือการปรากฏตัวโดยผิด
กฎหมายแก่ผู้ลี้ภัย อย่างไรก็ตามอนุสัญญาฯ ได้ก าหนดไว้ว่าผู้ลี้ภัยจะอ้างสิทธิตามมาตรานี้ได้ก็ต่อเมื่อ
“ หากผู้ลี้ภัยได้เดินทางโดยตรงมาจากดินแดนซึ่งชีวิตหรือเสรีภาพถูกคุกคามตามความหมายของ
มาตรา ๑ เข้ามาหรือปรากฏตัวในอาณาเขตโดยไม่ได้รับอนุญาต และผู้ลี้ภัยต้องมารายงานตัวต่อ
เจ้าหน้าที่ และแสดงเหตุอันควรเชื่อได้ในการเข้าเมืองผิดกฎหมายหรือการปรากฏตัวโดยผิดกฎหมาย”
นอกจากนี้สิทธิมนุษยชนที่ส าคัญยังรวมถึง สิทธิในการไม่ถูกเลือกปฏิบัติ สิทธิเสรีภาพในการ
เลือกนับถือศาสนา สิทธิในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม เสรีภาพในการเดินทาง สิทธิในการมีเอกสาร
แสดงตัวบุคคล สิทธิในการศึกษา ที่พักอาศัย ทางสาธารณสุข และสิทธิในการท างาน