Page 23 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 23
๑๔
รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”
ในประการแรก บุคคลนั้นจะต้องไม่สามารถหรือไม่เต็มใจที่จะได้ความคุ้มครองจากประเทศแห่ง
สัญชาติของตนหรือประเทศที่เดิมมีที่อาศัยประจ า การไม่ได้รับความคุ้มครองจากประเทศใด ๆ เป็น
เหตุผลส าคัญที่สังคมระหว่างประเทศเข้ามาให้ความคุ้มครองบุคคล เพราะโดยปกติแล้วรัฐเป็นผู้มีหน้าที่
ให้ความคุ้มครองแก่พลเมืองของตน แต่เมื่อใดก็ตามที่รัฐไม่สามารถหรือไม่เต็มใจที่จะให้ความคุ้มครอง
แล้ว บุคคลเหล่านั้นย่อมเสี่ยงต่อการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน เพราะเหตุนี้เอง ประชาคม
ระหว่างประเทศจึงต้องให้ความคุ้มครองเพื่อรับรองว่าสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานของบุคคลเหล่านั้นจะไม่
ถูกละเมิด
ในประการที่สอง เหตุที่บุคคลไม่สามารถหรือไม่เต็มใจที่จะได้รับความคุ้มครองนั้น เนื่องมาจาก
ความหวาดกลัวอันมีมูลจะกล่าวได้ว่าจะถูกประหัตประหาร อันมีสาเหตุทางเชื้อชาติ ศาสนา สัญชาติ
สมาชิกภาพในกลุ่มสังคมเฉพาะ หรือความคิดเห็นทางการเมือง (ดังที่ได้กล่าวไว้ในองค์ประกอบข้อสอง)
เมื่อบุคคลมีคุณสมบัติครบทั้งสามประการตามที่ได้กล่าวมาข้างต้นแล้ว บุคคลย่อมมีสถานะเป็น
ผู้ลี้ภัยตามอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัยทันที มีสิทธิและหน้าที่ดังต่อไปนี้
๒) สิทธิของผู้ลี้ภัย
อนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. ๑๙๕๑ ได้ก าหนดให้รัฐภาคีสมาชิกมีหน้าที่คุ้มครองสิทธิ
มนุษยชนขั้นพื้นฐานของผู้ลี้ภัยตามที่บัญญัติไว้ในอนุสัญญาฯ อย่างไรก็ตามสิทธิที่ก าหนดไว้ในอนุสัญญา
ฯ เป็นเพียงสิทธิขั้นต ่า รัฐภาคีสมาชิกจึงสามารถให้สิทธิที่นอกเหนือจากที่ก าหนดไว้จากผู้ลี้ภัยได้ สิทธิ
ส าคัญที่บัญญัติไว้ในอนุสัญญาได้
ทั้งนี้ สิทธิมนุษยชนที่ส าคัญที่ได้รับการคุ้มครองตามอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ.
๑๙๕๑ ได้แก่
สิทธิในการไม่ถูกขับไล่หรือส่งกลับ (ผลักดัน) มาตรา ๓๓ (๑)
“ รัฐภาคีผู้ท าสัญญาจะไม่ขับไล่หรือส่งกลับ(ผลักดัน)ไม่ว่าจะโดยลักษณะใด ๆ ไปยังชายแห่ง
ดินแดนซึ่ง ณ ที่นั้นชีวิตหรืออิสรภาพของผู้ลี้ภัยอาจได้รับการคุกคามด้วยสาเหตุทางเชื้อชาติ ศาสนา
สมาชิกภาพของกลุ่มทางสังคมเฉพาะ หรือความคิดเห็นทางการเมือง”