Page 22 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 22
๑๓
รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”
การพิจารณาในล าดับนี้มีลักษณะเป็นเชิงอัตวิสัย เพราะความกลัวเป็นภาวะทางจิตใจ ขึ้นอยู่กับ
ภูมิหลังและประสบการณ์ส่วนตัวของแต่ละบุคคล อย่างไรก็ตามความกลัวที่บุคคลกล่าวอ้างนั้นจะต้อง
ความหวาดกลัวที่มีมูลเหตุสมเหตุสมผล (well-founded) โดยพิจารณาจากข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่แสดงให้
เห็นความเป็นไปได้ที่บุคคลนั้นจะหวาดกลัวการว่าจะถูกประหัตประหาร เช่น เหตุการณ์ในอดีตที่บุคคลที่
อยู่ในสถานการณ์เดียวกันนี้ถูกประหัตประหาร หรือมีเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นกับตนเองหรือบุคคลใกล้ชิด
ของตน
นอกจากนั้น คุณสมบัติข้อสองนี้จะต้องพิจารณาสถานการณ์ในประเทศที่บุคคลนั้นหนีออกมา
ด้วย ซึ่งเป็นการพิจารณาในเชิงวัตถุวิสัย สะท้อนให้เห็นว่าบุคคลนั้นมุ่งแสวงหาที่ปลอดภัยในชีวิตเพราะ
สถานการณ์บังคับจริงเหมือนที่กล่าวอ้างหรือไม่
ดังนั้น ในการพิจารณาคุณสมบัติในข้อสอง ผู้ขอลี้ภัยจะต้องแสดงให้เห็นทั้ง ๒ ประการ คือ
สถานการณ์ประหัตประหารที่ตนหวาดกลัว และความสมเหตุสมผลว่าเพราะเหตุใดตนจึงมีความ
หวาดกลัวต่อการประหัตประหารนั้น
ค. การประหัตประหารนั้นต้องมีสาเหตุมาจาก เชื้อชาติ ศาสนา สัญชาติ สมาชิกภาพในกลุ่ม
สังคมเฉพาะ หรือความคิดเห็นทางการเมือง
โดยทั่วไปการประหัตประหารนั้นอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ แต่ผู้ที่จะมีสถานะเป็นผู้ลี้ภัยตาม
ความหมายของอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. ๑๙๕๑ ได้นั้นจะต้องเป็นผู้ที่หนีจากการ
ประหัตประหาร ที่มีสาเหตุอย่างน้อยหนึ่งสาเหตุจากทั้ง ๕ สาเหตุที่ระบุไว้ในมาตรา ๑ เท่านั้น บุคคลที่
หลบหนีการประหัตประหารด้วยสาเหตุอื่นไม่อาจเป็นผู้ลี้ภัยตามอนุสัญญาฉบับนี้ได้ เช่น ผู้ที่ออกจาก
ประเทศเพราะภัยพิบัติทางธรรมชาติ, ปัญหาทางเศรษฐกิจภายในประเทศ หรือผู้ที่หลบหนีการลงโทษจาก
การกระท าความผิดทางอาญา
ง. ไม่สามารถหรือไม่เต็มใจที่จะได้รับความคุ้มครองจากประเทศแห่งสัญชาติของตน หรือไม่
สามารถหรือไม่เต็มใจที่จะกลับไปอยู่อาศัยในประเทศที่ตนมีถิ่นที่อยู่เดิมเนื่องจากความหวาดกลัวที่กล่าว
มาข้างต้น
การพิจารณาว่าบุคคลมีคุณสมบัตินี้หรือไม่ สามารถพิจารณาได้ตามล าดับ ดังนี้