Page 20 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 20

บทที่ ๒


                              หลักการทางสากล กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับผู้ลี้ภัย






                         การวิจัยเรื่อง “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย - พม่า:  กรณีผู้อพยพจากภัย

                  สงคราม”  จ าเป็นต้องศึกษาหลักการทางสากลที่เกี่ยวข้องกับผู้ลี้ภัย ได้แก่ อนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้

                  ลี้ภัย ค.ศ. ๑๙๕๑ พิธีสารเกี่ยวกับสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. ๑๙๖๗  หลักการไม่ส่งผู้ลี้ภัยกลับไปสู่อันตราย


                  (non-refoulement)   กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีสาระส าคัญดังนี้


                  ๒.๑  อนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. ๑๙๕๑


                            ความเป็นมาของอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ.  ๑๙๕๑ เกิดขึ้นในช่วงสิ้นสุดยุค

                  สงครามโลกครั้งที่ ๒ ซึ่งปัญหาผู้ลี้ภัยในยุโรปทวีความรุนแรงขึ้น มีจ านวนผู้ลี้ภัยเพิ่มขึ้นใหม่จ านวนมาก

                  จากผลพวงของสงคราม ด้วยเหตุนี้ องค์การสหประชาชาติจึงได้ก่อตั้งส านักงานข้าหลวงใหญ่แห่ง


                  สหประชาชาติขึ้นเพื่อท าหน้าที่ให้ความคุ้มครองแก่ผู้ลี้ภัย และได้ร่างอนุสัญญาก าหนดกรอบการท างาน

                  ในการให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัย ร่างอนุสัญญาดังกล่าว ได้ผ่านมติและน ามาใช้ในวันที่ ๒๘  กรกฎาคม

                  ค.ศ. ๑๙๕๑ ในชื่อว่า “อนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. ๑๙๕๑”



                           ๒.๑.๑ เนื้อหาของอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. ๑๙๕๑


                         อนุสัญญาฉบับนี้ เป็นความตกลงระหว่างประเทศเพียงฉบับเดียวที่ครอบคลุมสิทธิส าคัญในชีวิต

                  ของผู้ลี้ภัยไว้ทั้งหมด และมีบทบัญญัติที่มุ่งส่งเสริมความเป็นน ้าหนึ่งใจเดียวกันและความร่วมมือกัน

                  ระหว่างรัฐในการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัย โดยเนื้อหาของอนุสัญญาฯ แบ่งเป็น ๖ ส่วนได้แก่



                         ๑)  ค าจ ากัดความ


                              อนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. ๑๙๕๑ ได้ให้ค าจ ากัดความของค าว่า “ผู้ลี้ภัย” ไว้ใน

                  มาตรา ๑ แต่เนื่องจากค าจ ากัดความดังกล่าวมีกรอบทางด้านเวลาและภูมิศาสตร์ ท าให้ไม่สามารถ

                  ปรับใช้กับผู้ลี้ภัยที่ในสถานการณ์ใหม่ได้ จึงมีการจัดท าพิธีสารเกี่ยวกับสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ.๑๙๖๗ ขึ้น

                  เพื่อก าจัดกรอบทางด้านเวลาและภูมิศาสตร์  โดยค านิยามของผู้ลี้ภัยในอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้

                  ลี้ภัย ค.ศ.๑๙๕๑ ประกอบกับ มาตรา ๑ พิธีสารเกี่ยวกับสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. ๑๙๖๗ คือ
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25