Page 21 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 21

๑๒
                                       รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”




                         “ผู้ลี้ภัย หมายถึง บุคคลที่อยู่นอกประเทศแห่งสัญชาติของตน เนื่องด้วยความหวาดกลัวที่มี

                  มูลเหตุอันจะกล่าวอ้างได้ว่าจะถูกประหัตประหารด้วยสาเหตุทางเชื้อชาติ ศาสนา สัญชาติ สมาชิกภาพใน


                  กลุ่มสังคมเฉพาะ หรือความคิดเห็นทางการเมือง และไม่สามารถหรือด้วยความหวาดกลัวนั้น ไม่เต็มใจที่

                  จะได้รับความคุ้มครองจากประเทศนั้น ในกรณีของบุคคลไร้สัญชาติ และอยู่นอกประเทศที่ตนมีถิ่นที่อยู่

                  ด้วยความหวาดกลัวที่กล่าวมาจึงไม่สามารถหรือไม่เต็มใจที่จะกลับไปอยู่อาศัยในประเทศนั้น”


                         เมื่อพิจารณาค าจ ากัดความดังกล่าว เห็นได้ว่าบุคคลที่จะได้รับสถานะว่าเป็นผู้ลี้ภัย ต้องมี


                  คุณสมบัติ ๔ ประการ ดังต่อไปนี้


                         ก.   เป็นผู้ที่อยู่นอกประเทศแห่งสัญชาติของตน หรือ ประเทศที่ตนมีถิ่นที่อยู่


                         คุณสมบัติประการแรกนี้เป็นองค์ประกอบทางกายภาพ คือ ลักษณะของการอยู่นอกประเทศนี้


                  จะต้องมีการข้ามพรมแดนระหว่างประเทศไปสู่อีกประเทศหนึ่ง โดยค าจ ากัดความนี้ได้จ าแนกผู้ที่อยู่นอก

                  ประเทศเป็น ๒ กลุ่ม คือ ผู้อยู่นอกประเทศแห่งสัญชาติตน หรือ ผู้อยู่นอกประเทศที่ตนมีถิ่นที่อยู่ กล่าวคือ


                         นอกประเทศแห่งสัญชาติตน : เกณฑ์การพิจารณานี้ใช้กรณีที่บุคคลนั้นเป็นบุคคลที่มีสัญชาติ

                  จะต้องปรากฏว่าบุคคลผู้นั้นได้ออกจากเขตแดนของรัฐเจ้าของสัญชาติตนแล้วเท่านั้น จึงจะได้รับการ


                  พิจารณาสถานภาพผู้ลี้ภัยตามความหมายของอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. ๑๙๕๑ ได้


                         นอกประเทศตามที่ตนมีถิ่นที่อยู่ : เกณฑ์การพิจารณานี้ใช้ส าหรับคนไร้รัฐ (Stateless Person) ซึ่ง

                  เป็นบุคคลที่ไม่มีรัฐใดเป็นเจ้าของสัญชาติของตัวบุคคลผู้นั้นเลย ในการพิจารณาองค์ประกอบว่าบุคคลนั้น

                  เป็นผู้ลี้ภัยตามความหมายของอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. ๑๙๕๑ หรือไม่ จึงไม่ใช้


                  หลักเกณฑ์เรื่องประเทศแห่งสัญชาติ แต่ใช้การพิจารณาว่าบุคคลผู้นั้นได้อยู่นอกประเทศที่ตนมีถิ่นที่อยู่

                  หรือไม่


                         หากปรากฏว่าบุคคลผู้นั้นเป็นผู้อยู่นอกประเทศแห่งสัญชาติตน หรือ ประเทศที่ตนมีที่อาศัยอยู่

                  ประจ าแล้ว ก็ต้องพิจารณาคุณสมบัติข้อต่อไปที่ต้องพิจารณาคือ



                         ข.  ต้องออกจากประเทศนั้นเนื่องจากความหวาดกลัวที่มีมูลอันจะกล่าวอ้างได้ว่าจะถูก

                  ประหัตประหาร
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26