Page 15 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 15
๖
รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”
พม่าว่า จะติดต่อให้เดินทางกลับประเทศไทย โดยเรียกค่าใช้จ่ายในการเดินทางคนละ ๑๐,๐๐๐ บาท เมื่อ
ตกลงกันได้ แรงงานอพยพกลุ่มนี้ซึ่งเป็นหญิง ๕ คน และเป็นชาย ๘ คน จึงเดินทางไปที่เมืองเมียวดี และ
ไปที่บ้านผะลู เดินข้ามแม่น ้าเมยเข้าประเทศไทยในเขตต าบลช่องแคบ อ าเภอพบพระ จังหวัดตาก โดยมี
รถกระบะมารอรับและสลับกับเดินป่าเพื่อหลบด่านทหาร ขณะก าลังเดินทาง ได้ยินเสียงปืนดังขึ้นและมี
เสียงร้องของผู้หญิง ด้วยความตกใจ จึงวิ่งหลบเข้าไปในป่าและเดินทางในป่าอีก ๓ วัน ไปถึงจังหวัด
ก าแพงเพชร จึงได้แยกย้ายไปท างานที่จังหวัดสระบุรีและจังหวัดก าแพงเพชร
เหตุการณ์ทั้ง ๒ กรณีนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการอพยพหนีความยากจนจากประเทศเมียนมาร์
เข้ามายังประเทศไทย ซึ่งสถานการณ์ในประเทศเมียนมาร์ในปี พ.ศ. ๒๕๕๓ นั้น ยังคงอยู่ภายใต้การ
ปกครองของรัฐบาลทหารพม่าที่ด าเนินไปพร้อมกับความขัดแย้งและการสู้รบกับกองก าลังของกลุ่มชาติ
พันธุ์ต่างๆ
เพื่อสร้างความชอบธรรมในการปกครองประเทศต่อไป ในวันที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๕๓ สภา
สันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ (SPDC) ได้ประกาศให้วันที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นวันเลือกตั้ง
ทั่วไปเพื่อให้สอดคล้องกับกับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า พรรคสหภาพเอกภาพและ
การพัฒนา (USDP) ได้รับชัยชนะ หลังการเลือกตั้งเพียง ๑ วันคือระหว่างวันที่ ๘ – ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ.
๒๕๕๓ ก็เกิดการสู้รบที่รุนแรงที่สุดในรอบ ๒๐ ปี ระหว่างรัฐบาลทหารพม่ากับกองก าลังชนกลุ่มน้อยใน
บริเวณรัฐกะเหรี่ยง ซึ่งอยู่ตรงกันข้ามกับอ าเภอแม่สอด จังหวัดตาก และรัฐมอญซึ่งอยู่ตรงข้ามกับอ าเภอ
สังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี
ด้วยเหตุที่ประเทศไทย และพม่าเป็นประเทศเทศมีชายแดนทางบก และทะเลติดต่อกันยาวรวม
๒,๔๐๑ กิโลเมตร ผลกระทบจากการสู้รบท าให้ประชาชนที่อยู่บริเวณชายแดนฝั่งพม่ากว่า ๒๕,๐๐๐ คน
อพยพหนีภัยการสู้รบเข้ามาในประเทศไทย กระจายตัวกันอยู่ในหลายพื้นที่ รัฐบาลไทยโดยหน่วยงานด้าน
ความมั่นคง ฝ่ายปกครอง และสาธารณสุขในอ าเภอแม่สอด จังหวัดตาก และอ าเภอสังขละบุรี จังหวัด
กาญจนบุรี รวมทั้งองค์กรระหว่างประเทศด้านมนุษยธรรม ได้จัดที่พักพิงชั่วคราว จัดหาอาหาร และดูแล
สุขภาพอนามัยให้แก่ผู้หนีภัยการสู้รบซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็ก สตรี และคนชรา เมื่ออยู่ในที่พักพิงชั่วคราวได้
เพียง ๒-๓ วัน ทหารก็ผลักดันให้ผู้หนีภัยการสู้รบเดินทางกลับไปยังฝั่งพม่าโดยแจ้งว่าการสู้รบได้ยุติลง
แล้ว แต่เมื่อผู้อพยพเดินทางกลับไปในหมู่บ้านของตนปรากฏว่ายังคงมีการสู้รบอยู่ ท าให้ต้องเดินทาง
กลับเข้ามายังฝั่งประเทศไทยอีก บางรายต้องกลับไปกลับมาถึง ๔ ครั้ง ผู้ที่กลับไปกลับมาหลายครั้งจึงไม่
ต้องการเข้าไปอยู่ในที่พักพิงชั่วคราวที่หน่วยงานรัฐในพื้นที่จัดให้ เพราะเกรงว่าจะถูกกดดันให้กลับอีก จึง
กระจายไปหลบซ่อนอยู่ตามหลุบเขาในหลายพื้นที่ ดูแลความปลอดภัย และอาหารการกินกันเอง บางกลุ่ม