Page 16 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 16

๗
                                       รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”


                  หลบซ่อนอยู่ในเขตป่าเขานานนับเดือน ท าให้มีปัญหาสุขภาพอนามัย เด็กที่อยู่ในวัยเรียน ไม่ได้รับ

                  การศึกษา


                         Forum of Burma’s Community Based Organization (FCOB) โดยหมอซินเธีย หม่อง จึงได้

                                                               ๔
                  ร้องเรียนมายังคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  ให้เข้าไปช่วยเหลือชาวพม่าที่อพยพหนีภัยสู้รบเข้า

                  มาในประเทศไทยโดยเรียกร้องให้มีการประเมินสถานการณ์อย่างรอบครอบก่อนส่งกลับ และควรประสาน

                  กับองค์กรด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ลี้ภัยโดยเร่งด่วน


                                                                                                      ๕
                         ภายใต้เงื่อนไขที่ประเทศไทยเป็นภาคีของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ค.ศ. ๑๙๔๘  และ
                                                              ๖
                  อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง  (ICCPR) เมื่อวันที่ ๒๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ จึง

                  มีความจ าเป็นที่รัฐบาล และทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องมีนโยบาย และแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจนใน

                  การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของผู้ลี้ภัยจากประเทศเมียนมาร์ให้เป็ นไปตามอนุสัญญาดังกล่าว รวมทั้งควร

                  ปฏิบัติตามหลักการไม่ส่งผู้ลี้ภัย กลับไปสู่อันตราย (non-refoulement)  ซึ่งเป็นหลักการในอนุสัญญาว่า

                  ด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. ๑๙๕๑ และพิธีสารเกี่ยวกับสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. ๑๙๖๗ ที่ห้ามรัฐภาคีไม่ส่ง

                  ตัว หรือผลักดัน หรือขับไล่ผู้แสวงหาที่พักพิง หรือผู้ลี้ภัยในลักษณะใด ๆ กลับประเทศ หรือดินแดน ซึ่งชีวิต


                  และเสรีภาพของพวกเขาอาจถูกคุกคามโดยการผลักดันกลับ


                         คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจึงมอบหมายให้คณะอนุกรรมการด้านสิทธิพลเมืองและ

                  สิทธิทางการเมืองด าเนินการตรวจสอบตามค าร้องเรียนนี้ คณะอนุกรรมการด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิ

                  ทางการเมืองได้ลงพื้นที่ไปตรวจสอบข้อเท็จจริง ๒ ครั้ง ดังนี้



                         ครั้งที่ ๑ เมื่อวันที่ ๑๗ – ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๓ คณะอนุกรรมการฯ ได้เดินทางไปเยี่ยมศูนย์

                  พักพิงชั่วคราวที่อ าเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก



                         ครั้งที่ ๒ เมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ คณะอนุกรรมการฯ ได้ไปเยี่ยมศูนย์พักพิงชั่วคราวที่

                  อ าเภออุ้มผาง จังหวัดตาก รวมทั้งจัดการประชุมร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องที่อ าเภอแม่สอด เพื่อ





                  ๔
                    เลขค าร้องที่ ๖๕๓/๒๕๕๓
                  ๔  ข้อ ๑๔ ทุกคนมีสิทธิที่จะแสวงหาและจะได้ลี้ภัยในประเทศอื่นจากการประหัตประหาร
                  ๕  อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง มาตรา ๗ “ไม่มีผู้ใดจะตกอยู่ภายใต้การทรมาน การปฏิบัติหรือ

                  การลงโทษอื่นที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรมหรือย ่ายีซึ่งศักดิ์ศรี”
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21