Page 18 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 18
๙
รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”
๔) แนวทางการแก้ไขปรับปรุงระเบียบของหน่วยงานในพื้นที่ที่เป็นอุปสรรคในการปฏิบัติต่อ
ผู้ลี้ภัยตามหลักสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
๕) ระบบการประสานงานที่มีประสิทธิภาพระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
๑.๔ วิธีการศึกษา
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยนโยบาย (Policy Research) เพื่อแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยบริเวณชายแดน
ไทย – พม่า ทั้งระยะสั้น และระยะยาว เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติต่อผู้ลี้ภัยอย่างเป็นระบบ และ
เป็นไปตามหลักการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนระดับสากล โดยมีขั้นตอนการวิจัยดังนี้
๑) จัดการประชุมนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญด้านผู้ลี้ภัย เพื่อก าหนดแนวทางการวิจัย และสร้าง
เครือข่ายการวิจัย
๒) เข้าพบเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) และเจ้าหน้าที่ระดับสูงเพื่อแลกเปลี่ยน
ข้อมูลข่าวสารสถานการณ์ด้านผู้ลี้ภัย และเชิญชวนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการวิจัย
๓) ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย อนุสัญญา ข้อตกลงระหว่างประเทศ ระเบียบ
และกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
๔) ลงพื้นที่สังเกตการณ์ (Observation) เก็บข้อมูลสถานการณ์ความเป็นอยู่ของผู้ลี้ภัย และ
ความคิดเห็นของประชาชนตามบริเวณชายแดนที่มีต่อผู้ลี้ภัย
๕) จัดเวทีเสวนานโยบาย (Policy Forum) ในส่วนกลางและในพื้นที่ที่มีผู้ลี้ภัย โดยร่วมมือกับ
สภาความมั่นคงแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงการต่างประเทศ กองทัพ
ภาคที่ ๓ ส านักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ องค์กรภาคประชาสังคมด้าน
ผู้ลี้ภัย และนักวิชาการ / นักวิจัย / ผู้เชี่ยวชาญด้านผู้ลี้ภัย
๖) จัดสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion)ในพื้นที่ที่มีผู้ลี้ภัยกับกลุ่มผู้ปฏิบัติงานของ
ภาครัฐ ภาคประชาสังคม ผู้แทนองค์การระหว่างประเทศด้านผู้ลี้ภัย นักวิชาการ / นักวิจัย /
ผู้เชี่ยวชาญด้านผู้ลี้ภัย