Page 17 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 17

๘
                                       รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”


                  หารือรับฟังความเห็นในการจัดท าข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย และมาตรการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนแก่ผู้

                  ลี้ภัย หลังจากนั้นจึงมีมติให้ท าการศึกษาวิจัยนโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า  :

                  กรณีอพยพจากภัยสงคราม เพื่อรวบรวมข้อมูล และจัดท าข้อเสนอแนะอย่างเป็นระบบเสนอต่อรัฐบาล

                  ต่อไป



                         อนึ่ง ชื่องานวิจัยเรื่อง “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า  :  กรณีผู้อพยพ

                  จากภัยสงคราม” ซึ่งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้ก าหนดเป็นหัวข้อการวิจัยนั้น ในระหว่างการ

                  ศึกษาวิจัย หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงการต่างประเทศ สภาความมั่นคงแห่งชาติ และ

                  กระทรวงกลาโหม ได้ทักท้วงว่าทางการไทยไม่ใช้ค าว่า “ผู้อพยพจากภัยสงคราม” แต่ให้ใช้ค าว่า “ผู้หนีภัย

                  จากการสู้รบ” อย่างไรก็ตาม ในงานศึกษาวิจัยครั้งนี้ได้ใช้ค าว่า “ผู้ลี้ภัย” แทนค าว่า “ผู้หนีภัยจากการสู้รบ”


                  ตามที่ทางหน่วยงานราชการใช้กัน เนื่องจากค าว่า “ผู้ลี้ภัย” เป็นค าศัพท์ที่ใช้ในประชาคมระหว่างประเทศ

                  และมีความหมายที่กว้างกว่าค าว่า “ผู้หนีภัยจากการสู้รบ”


                  ๑.๒ วัตถุประสงค์ของการศึกษา


                         ๑)  เพื่อศึกษาสถานการณ์ของผู้อพยพภัยสงครามจากประเทศเมียนมาร์ และความจ าเป็นที่ต้อง


                             หลบซ่อนอยู่ตามบริเวณป่าเขา


                         ๒)  เพื่อแสวงหานโยบาย และมาตรการในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนให้กับผู้ลี้ภัยจากประเทศ

                             เมียนมาร์ที่เป็นระบบ และเป็นไปตามหลักการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนระดับสากล



                  ๑.๓ ขอบเขตการศึกษา


                         ขอบเขตด้านพื้นที่  ท าการวิจัยในพื้นที่ชายแดนไทย – พม่าที่ใกล้กับพื้นที่สู้รบ ได้แก่ พื้นที่

                  ชายแดนในจังหวัดตาก แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย และกาญจนบุรี


                         ขอบเขตด้านเนื้อหา ท าการวิจัยในประเด็นดังต่อไปนี้



                         ๑)  สถานการณ์ความเป็นอยู่ของผู้ลี้ภัย


                         ๒)  นโยบายและบทบาทของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในส่วนกลางและในพื้นที่



                         ๓)  แนวทางการปฏิบัติตามหลักการไม่ส่งผู้ลี้ภัยกลับไปสู่อันตราย (non-refoulement)
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22