Page 14 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 14
๕
รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”
เมียนมาร์ตกอยู่ภายใต้สภาวะความยากจน ชาวพม่าและกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ อพยพลี้ภัยความยากจน
เข้ามาทางชายแดนประเทศไทยเป็นจ านวนมากโดยเข้ามาทางภาคเหนือในจังหวัดตาก แม่ฮ่องสอน
เชียงใหม่ เชียงราย ภาคตะวันตกทางจังหวัดกาญจนบุรี และภาคใต้ทางจังหวัดระนอง ผู้อพยพจาก
ประเทศเมียนมาร์ส่วนใหญ่มาเป็นแรงงานรับจ้างรายวันในประเทศไทยในอุตสาหกรรมการประมง การ
ก่อสร้าง การเป็นคนรับใช้ในบ้าน และการเป็นลูกจ้างกรีดยาง ซึ่งเป็นงานหนักที่คนไทยไม่นิยมท า
ผู้อพยพจากประเทศเมียนมาร์จ านวนไม่น้อยที่มีสถานภาพเข้าเมืองแบบผิดกฎหมายโดยขบวนการค้า
มนุษย์ที่เป็นคนไทยที่ท าธุรกิจการค้ามนุษย์ร่วมกับชาวพม่า ลักลอบน าแรงงานอพยพจากประเทศ
เมียนมาร์เข้ามายังประเทศไทยด้วยวิธีการแบบลับๆ จนกระทั่งเกิดการสูญเสียชีวิตของแรงงานอพยพ
ดังเช่นกรณีที่มีผู้ร้องเรียนมายังคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติให้ท าการตรวจสอบ ๒ กรณีในช่วงปี
๒๕๕๓ คือ
๑. กรณีเจ้าหน้าที่ทหารหน่วย ฉก. ร.๒๕ ยิงแรงงานต่างด้าวชาวพม่าที่จังหวัดระนองเสียชีวิต ๓
ศพที่จังหวัดระนอง กรณีนี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ เวลา ๐๔.๐๐ น. ได้เกิดเหตุการณ์
ไล่ตามจับกุมแรงงานอพยพชาวพม่าจ านวน ๑๖ คนซึ่งขึ้นฝั่งประเทศไทยที่บ้านเขาใหญ่ หมู่ ๓ ต าบล
ปากน ้า อ าเภอเมือง จังหวัดระนอง และถูกทหารหน่วย ฉก. ร ๒๕ เข้าท าการจับกุม โดยใช้อาวุธปืน
เอ็ม ๑๖ กราดยิงเข้าใส่รถปิคอัพที่บรรทุกแรงงานอพยพที่นอนอยู่ในกระบะท้ายรถ ท าให้เด็ก ๒ คนซึ่งเป็น
ผู้ติดตามแรงงานต่างชาติชาวพม่า และแรงงานต่างชาติชาวพม่าอีก ๑ คนเสียชีวิตทันที นอกจากนี้ยังมี
ผู้บาดเจ็บสาหัส ๑ คน และบาดเจ็บเล็กน้อยรวมทั้งสิ้น ๑๐ คน ส่วนแรงงานต่างชาติชาวพม่าที่รอดชีวิต
ถูกส่งฟ้ องศาลจังหวัดระนองในฐานความผิดเป็นบุคคลต่างด้าวเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรโดยมิได้
รับอนุญาต ถูกจ าขังแทนค่าปรับ
๒. กรณีสังหารหมู่แรงงานข้ามชาติชาวกะเหรี่ยงสัญชาติพม่าจ านวน ๙ ศพ ในช่วงเดือน
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๓ ศพถูกน าไปทิ้งแต่ละจุดเป็นคู่ ๆ ห่างกันประมาณ ๑๐-๓๐ กิโลเมตรบริเวณม่อน
หินเหล็กไฟ อ าเภอแม่สอด และริมถนนสายแม่สอด-อุ้มผาง พื้นที่อ าเภอพบพระ จากการสืบข้อเท็จจริง
จากผู้รอดชีวิต พบว่า แรงงานอพยพกลุ่มนี้ มาจากหมู่บ้านไจโปง จังหวัดลายบอย รัฐกะเหรี่ยง ท างานใน
ประเทศไทยที่อ าเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ก่อนเกิดเหตุ แรงงานอพยพกลุ่มนี้ได้ขออนุญาตนายจ้าง
กลับไปเยี่ยมบ้านและเมื่อเสร็จธุระจึงหาทางกลับประเทศไทยเพื่อให้นายจ้างน าไปพิสูจน์สัญชาติและต่อ
อายุใบอนุญาตท างานที่จะสิ้นสุดในวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ ต่อมาได้รับการติดต่อจากนายหน้าชาว