Page 9 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติกับการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนในความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกัน
P. 9

บทที่ ๑




                                แนวคิดเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนและการคุมครองสิทธิมนุษยชน



                              แนวความคิดเรื่องสิทธิมนุษยชนและการคุมครองสิทธิมนุษยชนมีมาตั้งแตสมัยกรีกโรมัน
                       อันเนื่องมาจากสภาพสังคมที่ไรระบบระเบียบในการปกครอง ณ ขณะนั้น การดําเนินชีวิตของผูคน

                       ในยุคนั้นจึงคอนขางที่จะเปนอิสระ และจากการที่ตางคนตางมีอิสระดังกลาว การใชสิทธิเสรีภาพ
                       ในการดําเนินชีวิตของแตละคนมักจะมีการลวงละเมิดหรือกระทบกระทั่งสิทธิเสรีภาพของผูอื่น

                       อยูเสมอๆ และเมื่อมีการลวงละเมิดหรือกระทบกระทั่งกันดังกลาวเกิดขึ้น ตางคนตางก็มีอํานาจที่จะ
                       บังคับการตามสิทธิเสรีภาพและลงโทษผูลวงละเมิดดวยกําลังของตนในลักษณะของการแกแคน

                       ทดแทน ทําใหเกิดปญหาความขัดแยงระหวางผูคนในสังคม และจากการไรระบบระเบียบในการ

                       ปกครองดังกลาว  การปกครองบานเมือง ณ ขณะนั้นจึงอยูที่ดุลพินิจของผูปกครองที่จะกระทําตามที่
                                   ๓
                       ตนเห็นสมควร  และผูปกครองมักจะใชอํานาจปกครองในลักษณะตามอําเภอใจกดขี่ขมเหงผูใตปกครอง
                       ใหไดรับความทุกขยากแสนสาหัส นักคิดนักปรัชญาในยุคนั้นจึงไดกลาวอางแนวความคิดเรื่องกฎหมาย

                       ธรรมชาติ (Natural Law) และสิทธิธรรมชาติ (Natural Rights) ของมนุษยขึ้น  เพื่อประสานความ
                       ขัดแยงระหวางผูคนในสังคมและจํากัดการใชอํานาจของผูปกครองดังกลาวและแนวความคิดทั้งสอง

                       ดังกลาว  ก็ไดพัฒนามาเปนแนวความคิดเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนและการคุมครองสิทธิมนุษยชน

                       มาจนกระทั่งปจจุบัน


                       ๑.๑ แนวคิดเบื้องตนเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน



                              แมแนวความคิดเรื่องสิทธิมนุษยชนจะปรากฏขึ้นตั้งแตสมัยกรีกโรมัน แตในสมัยนั้นไมได
                       เรียกวาสิทธิมนุษยชน (Human Rights) แตเรียกวา  “สิทธิธรรมชาติ (Natural Rights)”และตอมา

                       เรียกวา “สิทธิของมนุษย (Rights  of  Man)” กอนที่จะมีการเรียกวาสิทธิมนุษยชนดังเชนปจจุบัน
                       และบุคคลแรกที่ใชคําวา “สิทธิมนุษยชน” แทนคําวา “สิทธิของมนุษย” หรือ “สิทธิธรรมชาติ”

                       คือ Thomas  Paine  นักเขียนและนักตอสูทางการเมืองชาวอังกฤษ ในงานแปลคําประกาศสิทธิของ

                       มนุษยและพลเมือง ค.ศ. ๑๗๘๙ ของฝรั่งเศสเปนภาษาอังกฤษ ตอมาคําวา“สิทธิมนุษยชน” ไดปรากฏ
                       ในกฎบัตรสหประชาชาติ ค.ศ.  ๑๙๔๕  แตคนสวนใหญมักเขาใจกันวาการเปลี่ยนถอยคําจากคําวา

                       “สิทธิของมนุษย” มาเปนคําวา “สิทธิมนุษยชน” มาจากขอเสนอแนะของนาง Eleanor Roosevelt

                       ในป ค.ศ.๑๙๔๓  ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงสหประชาชาติ ซึ่งรับผิดชอบ



                              ๓
                                กุลพล  พลวัน, สิทธิมนุษยชนในสังคมไทย, (กรุงเทพมหานคร : หางหุนสวนจํากัดภาพพิมพ, ๒๕๔๓), น. ๑๔.
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14