Page 12 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติกับการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนในความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกัน
P. 12

๘





                       ของมนุษย (Human Nature) มิไดเกิดขึ้นเพราะการอนุญาตจากรัฐหรือเปนผลจากการกระทําของ
                       ใครคนใดคนหนึ่งโดยเฉพาะ ดังนั้น ในการมีสิทธิมนุษยชนบุคคลจึงไมจําเปนตองมีสิ่งใดๆ

                                                                                                  ๑๑
                       นอกเหนือจากความเปนมนุษยเขาไมตองทําอะไรทั้งสิ้นนอกเสียจากการไดเกิดมาเปนมนุษย
                                     สิทธิมนุษยชน คือ คุณลักษณะประจําตัวของมนุษยทุกคนในฐานะที่เกิดมา
                       เปนมนุษยและดวยเหตุผลแตเพียงอยางเดียววาเขาเกิดมาเปนมนุษย ทุกคนมีสิทธิและเสรีภาพเหลานี้

                                                                                 ๑๒
                       อยูแลวตั้งแตกอนที่จะมีสังคมการเมืองที่เรียกวา “รัฐ” (State) เกิดขึ้น  และไมมีมนุษยผูใดสามารถ
                       สละสิทธิและเสรีภาพเหลานี้ไดโดยชอบและไมมี “ผูปกครองวาการแผนดิน (Sovereign) ” คนใด
                                                                           ๑๓
                       หรือคณะใดมีอํานาจทําลายสิทธิและเสรีภาพเหลานี้ไดเชนกัน  สิทธิมนุษยชนจึงมิไดเปนการที่รัฐ
                       บัญญัติกฎหมายใหสิทธิแกบุคคล หากแตเปนการที่กฎหมายของรัฐไดรับรองถึงความมีอยูของสิทธิ

                       ที่ติดตัวมนุษยไวในบทบัญญัติของกฎหมายเทานั้น  เชน สิทธิในชีวิตรางกายของบุคคล เสรีภาพ
                                                   ๑๔
                       ในทางความเชื่อของบุคคล เปนตน
                                     การใหความหมายสิทธิมนุษยชนตามแนวคิดดังกลาว เปนการใหความหมาย
                       สิทธิมนุษยชนโดยพิจารณาจากธรรมชาติของการเปนมนุษยและยืนยันถึงการถือครองสิทธิดังกลาว

                                    ๑๕
                       โดยมนุษยทุกคน  และจากความหมายดังกลาวทําใหเห็นถึงลักษณะของสิทธิมนุษยชน ๒ ประการ
                       คือ ความเปนสากลของสิทธิมนุษยชนและการไมอาจสละโอนหรือยอมใหพรากไปแกผูใดผูหนึ่ง คือ
                                     - ความเปนสากล (Universality) ของสิทธิมนุษยชน กลาวคือ เนื่องจากสิทธิมนุษยชนเปน

                       สิทธิที่ผูกพันอยูกับความเปนมนุษยและติดตัวมนุษยทุกคนมาตั้งแตกําเนิดสิทธิมนุษยชนจึงไมมี
                                                    ๑๖
                       ขอจํากัดในทางลักษณะตัวบุคคลคือ  เปนสิทธิที่บุคคลทุกคนเปนผูทรงสิทธิโดยไมมีการแบงแยกวา
                       บุคคลนั้นจะเปนคนของชาติใด เชื้อชาติใด ภาษาใดหรือศาสนาใดและสามารถกลาวอางสิทธิดังกลาว

                       ไดโดยไมจํากัดสถานที่และเวลา
                                     - การไมอาจสละโอนหรือยอมใหพรากไป (Inalienability) แกผูใดผูหนึ่งกลาวคือ

                       แมสิทธิมนุษยชนจะเปนสิทธิที่ติดตัวทุกคนมาตั้งแตกําเนิดในฐานะที่เกิดมาเปนมนุษยและบุคคล

                       ทุกคนสามารถกลาวอางสิทธิดังกลาวไดโดยไมจํากัดเวลาและสถานที่ แตบุคคลทุกคนในฐานะที่เปน
                       ผูทรงสิทธิดังกลาว ก็ไมอาจแสดงเจตนาจําหนายจายโอนหรือสละสิทธิดังกลาวใหแกบุคคลใดก็ได



                              ๑๑  จรัญ  โฆษณานันท, อางแลว เชิงอรรถที่ ๗, น. ๕๗.
                              ๑๒
                                วรพจน  วิศรุตพิชญ, สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐,
                       พิมพครั้งที่ ๒, (กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพวิญูชน, ๒๕๔๓), น. ๔๔.
                              ๑๓  เพิ่งอาง, น. ๔๐.

                              ๑๔
                                 บรรเจิด  สิงคะเนติ, หลักพื้นฐานของสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเปนมนุษยตามรัฐธรรมนูญ,
                       พิมพครั้งที่ ๒ ปรับปรุงใหม, (กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพวิญูชน, ๒๕๔๗), น. ๗๓.
                              ๑๕
                                จรัญ  โฆษณานันท, อางแลว เชิงอรรถที่ ๗, น. ๕๘.
                              ๑๖
                                บรรเจิด  สิงคะเนติ, อางแลว เชิงอรรถที่ ๑๔, น. ๗๓.
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17