Page 11 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติกับการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนในความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกัน
P. 11
๗
การที่องคการสหประชาชาติไมไดกําหนดคํานิยามของคําวา “สิทธิมนุษยชน”
ไวเปนการเฉพาะเจาะจงดังกลาวอาจจะดวยเหตุผลสามประการคือ ประการแรก เปนการละไว
ในฐานที่เขาใจกันไดโดยสามัญสํานึก ประการที่สอง เพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแยงในการอธิบายความ
และประการที่สาม เพื่อเปดกวางความหมายไวเพื่อความยืดหยุนหรือตอบรับการพัฒนาความหมาย
๗
สิทธิมนุษยชนที่ไมหยุดนิ่งตามพลวัตรสังคม และเมื่อพิจารณาจากพัฒนาการในทางประวัติศาสตร
ของสิทธิมนุษยชนจะพบวา แนวความคิดเรื่องสิทธิมนุษยชนมีความเปนพลวัตร (Dynamic)
๘
โดยขึ้นอยูกับบริบทตางๆ ของแตละสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา เชน
การมีประวัติศาสตร คานิยม ความเชื่อ วัฒนธรรม เศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง
หรือสภาพแวดลอม ฯลฯ ที่แตกตางกัน แตละสังคมจึงมีความเขาใจสิทธิมนุษยชนในความหมาย
ที่แตกตางกันไป การใหนิยามคําวาสิทธิมนุษยชนไวเปนการแนนอนตายตัว จึงอาจเปนการไปจํากัด
ความหมายของคําวาสิทธิมนุษยชนไวกับสังคมใดสังคมหนึ่ง ในชวงเวลาใดชวงเวลาหนึ่งมากเกินไป
ดังนั้น จึงควรปลอยใหความหมายของคําวาสิทธิมนุษยชนพัฒนาไปตามพลวัตรของสังคมในแตละยุค
แตละสมัย ในการพิจารณาความหมายของคําวา “สิทธิมนุษยชน” ในที่นี้จึงจะแยกพิจารณา
เปนสิทธิมนุษยชนตามแนวคิดดั้งเดิมกับสิทธิมนุษยชนตามแนวคิดสมัยใหม
๑) ความหมายตามแนวคิดดั้งเดิม
โดยที่แนวความคิดเรื่องสิทธิมนุษยชนมีรากเหงาความคิดมาจากแนวความคิด
เรื่องกฎหมายธรรมชาติและสิทธิธรรมชาติ การปรากฏตัวหรือสถานการณมีอยูของสิทธิมนุษยชน
ในสายตาของฝายกฎหมายธรรมชาติหรือธรรมชาตินิยม มักมองวาสิทธิมนุษยชนเปนสิทธิที่มีอยูแลว
โดยธรรมชาติหรือเปนสิทธิธรรมชาติ (Natural Rights) ซึ่งมนุษยเพียงคนพบ (Discover) มิใชสิทธิที่เกิดจาก
๙
อํานาจหรือการประทานใหของมนุษยดวยกันเอง ดังนั้นจึงมีผูใหความหมายของคําวา “สิทธิมนุษยชน”
ในยุคนั้นวา
สิทธิมนุษยชน คือ สิทธิที่คนทุกคนมีอยูโดยเสมอภาคเทาเทียมกันดวยเหตุที่เขา
๑๐
เปนมนุษย เปนสิทธิที่ตั้งอยูบนความใสใจตอธรรมชาติแหงการเปนมนุษยของเรา สิทธิมนุษยชน
จึงเปนสิทธิที่เกิดมาเองโดยธรรมชาติในตัวมนุษย ในความหมายที่วาแหลงที่มาของสิทธินี้คือธรรมชาติ
๗ จรัญ โฆษณานันท, สิทธิมนุษยชนไรพรมแดน ปรัชญา กฎหมาย และความเปนจริงทางสังคม,
(กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพนิติธรรม, ๒๕๔๕), น. ๕๗.
๘
อุดม รัฐอมฤตและคณะ, อางแลว เชิงอรรถที่ ๕, น. ๔๒.
๙ จรัญ โฆษณานันท, อางแลว เชิงอรรถที่ ๗, น. ๕๙.
๑๐
R.J.Vincent, “Human Rights and International Relations” (Cambridge : Cambridge
University Press,1988) ; จรัญ โฆษณานันท (แปล), “สิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีของมนุษย : บทวิจารณเชิง
วิเคราะห แนวคิดเรื่องสิทธิมนุษยชนในโลกที่มิใชตะวันตก”, วารสารกฎหมาย, คณะนิติศาสตร จุฬาลงกรณ
มหาวิทยาลัย, ปที่ ๑๐, ฉบับที่ ๒, ธันวาคม ๒๕๒๘, น. ๗๙ – ๘๐.