Page 57 - รายงานโครงการศึกษาวิจัย การต่อสู้ภาคประชาสังคมเพื่อยุติการคุกคามทางเพศในที่ทำงาน : กรณีศึกษาสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
P. 57

๕๖

                   ความสําคัญต่อการเข้มงวดเรื่องการละเมิดและคุกคามทางเพศในที่ทํางาน และส่งต่อวิสัยทัศน์นี้สู่
                   ผู้บริหารทุกระดับและหัวหน้างานทุกหน่วยดังที่ได้เริ่มปฏิบัติการมาในระยะ ๑๒ เดือนที่ผ่านมา เป็น
                   การแสดงถึงความมีวิสัยทัศน์ที่ดีงามของกรรมการผู้อํานวยการใหญ่ และสิ่งนี้สามารถเป็นแบบอย่างที่
                   ดีสําหรับหน่วยงานอื่นในสังคมไทยในเรื่องการยุติการคุกคามทางเพศในที่ทํางานได้
                          กล่าวถึงว่าบริษัทการบินไทยมีพนักงานทุกระดับที่พร้อมจะทํางานเพื่อองค์กรของตนอย่าง
                   เสียสละโดยมิได้มุ่งหวังเพียงเงินเดือนค่าจ้าง แต่มุ่งหวังที่จะทํางานในหน้าที่ของตนให้ดีที่สุดทุกวันที่
                   ปฏิบัติงาน ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน ฝ่ายช่าง ฝ่ายโภชนาการ ฝ่ายการเงิน สิ่ง
                   เหล่านี้คือความสามารถของบริษัทการบินไทยที่สามารถสร้างคนจริงที่ทํางานจริงเพื่อบริษัทขึ้นมาได้
                   ดังตัวอย่างความเสียสละในหน้าที่การงานของพนักงานการบินไทยที่ได้นําเสนอไป
                          ดังนั้น กับความเสียสละเพื่อองค์กรเป็นอย่างดีดังกล่าว นักวิจัยเชื่อว่าเป็นเรื่องที่ควรยกย่อง
                   อย่างยิ่ง หากกรรมการผู้อํานวยการใหญ่จะแสดงความขอบคุณพนักงานทุกระดับชั้นทุกแผนกของตน
                   โดยการยืนหยัดในวิสัยทัศน์ที่จะเข้มงวดให้ผู้ชายเป็นผู้ไม่ละเมิดทางเพศ และหากละเมิดต้อง
                   ดําเนินการขั้นเด็ดขาดเพื่อมิให้บริษัทเสื่อมเสียชื่อเสียง ทั้งนี้ เพื่อคงไว้ซึ่งกรอบวัฒนธรรม “รักนวลสงวน
                      6
                   ตัว”  อันดีงามของไทยตลอดไป
                   ๓.๘ การบินไทยสู่สากลด้วยนโยบายคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
                          ประเทศไทยเป็นประเทศภาคีในอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีทุกรูปแบบ
                   (Convention on the Elimination of All Forms of Discrimination Against Women) อนุสัญญาฉบับ
                   นี้เป็นกฎหมายระหว่างประเทศฉบับเดียวในโลกที่มีเนื้อหาปกป้ องสิทธิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของ
                   ผู้หญิงโดยตรง แวดวงนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนของผู้หญิงในประเทศไทยเรียกอนุสัญญานี้ว่า
                   อนุสัญญาผู้หญิง หรือ อนุสัญญา ซี-ดอ (CEDAW) การที่ประเทศไทยเป็นประเทศภาคีของอนุสัญญานี้
                   หมายความว่ารัฐไทยยอมรับที่จะนําหลักการ ๓ ประการของอนุสัญญาฉบับนี้มาปฏิบัติในประเทศของ
                   เราร่วมกับรัฐธรรมนูญของเรา หลักการ ๓ ประการของอนุสัญญาผู้หญิง ได้แก่

                   6
                     ตามความหมายที่ ธาวิต สุขพานิช ได้ศึกษาไว้
   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62